การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค
การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (อังกฤษ: Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม
การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองนูเร็มเบิร์ก รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 และเป็นการพิจารณาอันเป็นที่กล่าวขานมากที่สุดด้วย จำเลยในชุดนี้ประกอบด้วยผู้นำคนสำคัญที่สุดยี่สิบสี่คนของนาซีเยอรมนีซึ่งถูกจับมาได้ ทว่า บุคคลสำคัญหลาย ๆ คนที่ชักใยอยู่เบื้องหลังสงคราม เป็นต้นว่า อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ และโยเซฟ เกิบเบิลส์ นั้น กระทำอัตวินิบาตกรรมไปก่อนหน้าแล้ว การพิจารณาชุดแรกนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1946
ส่วนชุดที่สอง เป็นการพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่าจำเลยกลุ่มแรก ดำเนินการโดย คณะตุลาการศาลทหารเนือร์นแบร์ค (Nuremberg Military Tribunals) ตามกฎหมายสภาควบคุม ฉบับที่ 10 (Control Council Law No. 10) ในครั้งนี้ มีทั้งการพิจารณาคดีแพทย์ และการพิจารณาตุลาการ
จุดกำเนิด
แก้เอกสารของคณะรัฐมนตรีสงครามแห่งอังกฤษ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2006 ระบุว่า ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 คณะรัฐมนตรีได้อภิปรายนโยบายการลงโทษผู้นำนาซีที่ถูกจับ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร สนับสนุนให้มีการประหารชีวิตอย่างรวบรัดในบางพฤติการณ์ โดยใช้พระราชบัญญัติกบฏ (Act of Attainder) เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคทางกฎหมายบางประการ อย่างไรก็ดี เมื่อได้สนทนากับสหรัฐอเมริกาภายหลังสงครามยุติ สหรัฐอเมริกาปรามเขามิให้ใช้นโยบายนี้ ครั้นปลาย ค.ศ. 1943 ระหว่างงานสโมสรไตรภาคีเลี้ยงอาคารค่ำในการประชุมเตหะราน โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต เสนอให้ประหารชีวิตนายทหารชาวเยอรมันราว ๆ ห้าหมื่นถึงหนึ่งแสนคน แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าวติดตลกว่า เอาแค่สี่หมื่นเก้าก็พอ และเชอร์ชิลติเตียนแนวคิด "ประหารชีวิตทหารที่สู้เพื่อประเทศของตนให้ตายเสียอย่างเลือดเย็น" นี้ แต่เขายืนยันว่า ผู้กระทำความผิดอาญาสงครามต้องชดใช้ความผิดของตน และตามปฏิญญามอสโกที่เขาเขียนขึ้นเองนั้น เขายังว่า บุคคลเหล่านั้นจักต้องถูกพิจารณา ณ สถานที่ที่ความผิดอาญาได้กระทำลง เชอร์ชิลล์ต่อต้านการประหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองอย่างแข็งขัน[1] [2] ตามรายงานการประชุมระหว่างโรสเวลต์-สตาลินในการประชุมยัลตาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ที่พระราชวังลิวาเดีย ประธานาธิบดีโรสเวลต์ "กล่าวว่า ขอบเขตการทำลายล้างของทหารเยอรมันในไครเมียนั้นสร้างความตระหนกให้แก่เขาเป็นอันมาก และเพราะฉะนั้น เขาจึงกระหายเลือดต่อชาวเยอรมันมากยิ่งกว่าปีก่อน และเขาหวังว่าจอมพลสตาลินจะเสนอแผนการประหารชีวิตนายทหารจำนวนห้าหมื่นคนของกองทัพบกเยอรมันอีกครั้ง"[3]
เฮนรี มอร์เกนเธา จูเนียร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เสนอแผนการให้ทำลายความเป็นนาซีจากเยอรมนีอย่างสมบูรณ์[4] แผนการดังกล่าวเรียกกันว่า "แผนการมอร์เกนเธา" (Morgenthau Plan) มีเนื้อหาสนับสนุนการบังคับให้เยอรมนีสูญเสียอำนาจทางอุตสาหกรรมของตน ในเบื้องต้น โรสเวลต์สนับสนุนแผนการนี้ และโน้มน้าวให้เชอร์ชิลล์สนับสนุนในรูปแบบที่เบาบางลง แต่แผนการเกิดรั่วไหลไปสู่สาธารณชนเสียก่อน จึงมีการประท้วงเป็นวงกว้าง เมื่อทราบว่าประชาชนไม่เอาด้วยอย่างเด็ดขาด โรสเวลต์จึงละทิ้งแผนการดังกล่าว ความที่แผนการมอร์เกนเธาถึงแก่จุดจบลงเช่นนี้ ก็บังเกิดความจำเป็นจะต้องหาวิธีสำรองสำหรับรับมือกับเหล่าผู้นำนาซีขึ้น เฮนรี แอล. สติมสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามแห่งสหรัฐอเมริกา และกระทรวงของเขา จึงยกร่างแผนการสำหรับ "พิจารณาชาวยุโรปผู้กระทำความผิดอาญาสงคราม" ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เมื่อโรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีคนใหม่ แสดงความเห็นด้วยอย่างแรงกล้าในอันที่จะให้มีกระบวนการยุติธรรม และหลังสหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และฝรั่งเศส ได้เจรจากันหลายยกหลายคราว ก็ได้ข้อสรุปเป็นรายละเอียดของการพิจารณาคดี โดยเริ่มพิจารณาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 ณ เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี
การจัดตั้งศาล
แก้ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1942 ผู้แทนจากกลุ่มประเทศที่ถูกยึดครองเก้าประเทศเดินทางมาพบกันในกรุงลอนดอน เพื่อที่จะร่างมติร่วมกันระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรเกี่ยวกับอาชญากรสงครามชาวเยอรมัน ในการประชุมเตะหราน (ค.ศ. 1943) การประชุมยัลตา และการประชุมพอตสดัม (ค.ศ. 1945) มหาอำนาจทั้งสามระหว่างสงคราม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหราชอาณาจักร ได้ตกลงกันในรูปแบบของการลงโทษสำหรับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งฝรั่งเศสได้รับเกียรติให้มีที่ในศาลชำระความด้วยเช่นกัน
หลักกฎหมายในการพิจารณาคดีถูกจัดตั้งขึ้นโดยธรรมนูญลอนดอน ซึ่งมีผลในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งกำหนดในมีการพิจารณาคดีเพื่อลงโทษอาชญากรสงครามหลักแห่งกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในทวีปยุโรป อาชญากรสงครามราว 200 คนจะถูกพิจารณาคดีที่เนือร์นแบร์ค ในขณะที่อีกราว 1,600 คนจะถูกพิจารณาดคีโดยศาลทหารทั่วไป ส่วนหลักกฎหมายสำหรับเขตอำนาจศาลนั้นถูกกำหนดโดยตราสารยอมจำนนของเยอรมนี อำนาจทางการเมืองในเยอรมนีถูกโอนไปยังสภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอำนาจอธิปไตยเหนือเยอรมนี และสามารถเลือกที่จะลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายสงคราม เนื่องจากศาลถูกจำกัดไว้ในการฝ่าฝืนกฎหมายสงคราม ศาลดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจพิจารณาอาชญการรมสงครามที่เกิดขึ้นก่อนการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939
อาชญากรรมสงครามฝ่ายสัมพันธมิตร
แก้ศาลพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามได้พิจารณาคดีและลงโทษแต่เพียงบุคคลจากกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะเท่านั้น จึงได้เกิดการกล่าวโทษว่าศาลดังกล่าวได้ใช้ความยุติธรรมของผู้ชนะ เนื่องจากไม่มีคดีความของฝ่ายสัมพันธมิตรเลย ซึ่งนายพลชัก เยเกอร์ ได้เขียนไว้ในอัตชีวประวัติของเขาว่าในภารกิจบางอย่างของเหล่าทหารอากาศอาจถูกพิจารณาว่าเป็นอาชญากรรมสงครามได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภารกิจ "ยิงทุกอย่างที่เคลื่อนไหว" ในชนบทของเยอรมนี) เขาและนักบินคนอื่น ๆ จำเป็นจะต้องปฏิบัติภารกิจเพื่อหลีกเลี่ยงคำตัดสินของศาลทหารฐานขัดคำสั่ง เขายังได้กล่าวอีกว่า เขาหวังว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะชนะสงคราม มิฉะนั้นเขาอาจถูกพิจารณาคดีในข้อหาก่ออาชญกรรมสงคราม[5]
การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของฝ่ายอักษะเป็นสิ่งที่ผิดปกติ และนำไปสู่การก่อตั้งศาลชำระความระหว่างประเทศ โดยทั่วไปแล้ว สงครามระหว่างประเทศจะยุติลงอย่างมีเงื่อนไข และการปฏิบัติต่ออาชญากรรมสงครามจะรวมเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพนั้น ในหลายกรณี ผู้ที่มิได้เป็นอาชญากรสงครามก็ถูกพิจารณาคดีโดยระบบยุติธรรมในชาติของตนเช่นเดียวกัน หากผู้นั้นถูกสงสัยว่าก่ออาชญากรรมสงคราม ในการจำกัดวงในศาลชำระความระหว่างประเทศในการไต่สวนอาชญากรสงครามฝ่ายอักษะที่เป็นที่ต้องสงสัย ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป
สถานที่พิจารณาคดี
แก้ไลพ์ซิจ มิวนิก และลักเซมเบิร์กเคยได้รับพิจารณาให้เป็นสถานที่พิจารณาคดี[6] ส่วนสหภาพโซเวียตต้องการให้จัดการพิจารณาคดีขึ้นในกรุงเบอร์ลิน เนื่องจากเห็นว่าเป็นเมืองหลวงของฟาสซิสต์[6] แต่เนือร์นแบร์คถูกเลือกให้เป็นสถานที่พิจารณาคดีด้วยเหตุผลเฉพาะหลายประการ:
- พื้นที่ส่วนใหญ่ของทำเนียบยุติธรรมยังคงไม่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร นอกจากนี้ยังมีเรือนจำเป็นส่วนหนึ่งของอาคารด้วย
- เนือร์นแบร์คถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของพรรคนาซี รวมทั้งมีการจัดการชุมนุมโฆษณาชวนเชื่อทุกปี[6] ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะมอบจุดจบให้กับนาซีในเชิงสัญลักษณ์
ด้วยการประนีประนอมกับสหภาพโซเวียต กรุงเบอร์ลินถูกจัดให้เป็นสถานที่พักอย่างเป็นทางการของเจ้าหน้าที่ระหว่างการพิจารณาคดี[7][8][9] และยังได้มีการตกลงในฝรั่งเศสมีที่นั่งถาวรในศาลชำระความระหว่างประเทศ[10] และการพิจารณาคดีครั้งแรกจะถูกจัดขึ้นที่เนือร์นแบร์ค[7][9]
ผู้พิพากษา
แก้แต่ละประเทศในศาลทหารระหว่างประเทศ มีผู้พิพากษาและผู้ช่วยอย่างละหนึ่งคน
- พลตรี อีโอนา นีคีตเชนโค (ผู้พิพากษา)
- พันโท อะเลคซันดร์ โวลชคอฟ (ผู้ช่วยผู้พิพากษา)
- พันเอก เซอร์ จีออฟรี ลอว์เรนซ์ (ผู้พิพากษา และประธานศาล)
- เซอร์ นอร์แมน บีร์เคทท์ (ผู้ช่วยผู้พิพากษา)
- ฟรานซิส บิดเดิล (ผู้พิพากษา)
- จอห์น ปาร์กเกอร์ (ผู้ช่วยผู้พิพากษา)
- ศาสตราจารย์ เฮนรี ดงเนอดีเยอ เดอ วาเบร (ผู้พิพากษา)
- โรเบิร์ต ฟัลโก (ผู้ช่วยผู้พิพากษา)
ทนาย
แก้- ทนายฝ่ายโจทก์:
- โรเบิร์ต เอช. แจ็กสัน; ผู้ช่วยทนาย: เทลฟอร์ด เทย์เลอร์ และริชาร์ด ซอนเนนเฟท์
- เซอร์ ฮาร์ดลีย์ เชาว์ครอส; ผู้ช่วยทนาย: พันตรี เซอร์เดวิด แมกซ์เวลล์-ฟิฟ, เซอร์ จอห์น วีเลอร์-เบนเนตต์ และมาร์วิน กริฟฟิธ-โจนส์, แอนโธนี มาร์เรโก
- พลโท โรมัน รูเดนโค
- ฟรองซัว เดอ มองตง
- โอกูสเตอ ชองเปอตีแยร์ เดอ รีเบส
- ทนายฝ่ายจำเลย: จำเลยแต่ละคนมีสิทธิ์ที่จะต่อสู้คดีโดยมีทนายความประจำตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทนายความชาวเยอรมัน[11]
การพิจารณาคดีหลัก
แก้ศาลทหารระหว่างประเทศถูกเปิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ณ ทำเนียบยุติธรรมในเมืองเนือร์นแบร์ค[12] การประชุมในช่วงแรกรับผิดชอบโดยผู้พิพากษาโซเวียต นิคิทเชนโก การดำเนินคดีเริ่มขึ้นด้วยการฟ้องร้องจำเลย 24 อาชญากรสงครามคนสำคัญ และ 6 องค์การ ได้แก่ ผู้นำระดับสูงของพรรคนาซี ชุทซ์ซทัฟเฟล (เอ็สเอ็ส) ซีเชอร์ไฮท์สดีนสท์ (เอสดี) เกสตาโพ ชตูร์มับไทลุง และ "กองเสนาธิการและกองบัญชาการทหารสูงสุด" ซึ่งประกอบด้วยนายทหารอาวุโสหลายประเภท[13]
คำฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์ ได้แก่:
- การมีส่วนร่วมในแผนการทั่วไปหรือแผนสมคบคิดในการก่ออาชญากรรมต่อสันติภาพ
- การวางแผน ริเริ่มและดำเนินสงครามเพื่อการรุกราน และอาชญากรรมต่อสันติภาพอื่น ๆ
- อาชญากรรมสงคราม
- อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
(ตัวย่อ: I ถูกฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์แต่ไม่ถูกพิพากษาลงโทษ, G ถูกฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์และถูกวินิจฉัยว่ามีความผิด, O ไม่ถูกฟ้อง)
ชื่อ | บทลงโทษ | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | |||
มาร์ทีน บอร์มัน |
I | O | G | G | ประหารชีวิต | ผู้สืบทอดตำแหน่งเลขาธิการพรรคนาซีต่อจากเฮสส์ ศพถูกพบในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งสามารถตามรอยได้จนถึง ค.ศ. 1945[14] |
คาร์ล เดอนิทซ์ |
I | G | G | O | จำคุก 10 ปี | ผู้บัญชาการทหารเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 สืบทอดตำแหน่งต่อจากแรเดอร์ ผู้ริเริ่มการทัพเรืออู เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีเป็นเวลา 23 วัน หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ถึงแก่อสัญกรรม ในหลักฐานที่ถูกนำเสนอต่อศาลระบุว่า คาร์ล เดอนิตช์ได้สั่งการกองเรืออู ซึ่งเป็นการละเมิดสนธิสัญญากองทัพเรือกรุงลอนดอน; พลเรือเอกเชสเตอร์ นิมิตซ์ ระบุว่า การใช้เรือดำน้ำอย่างไม่จำกัดขอบเขตถูกนำมาใช้ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่วันแรกที่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม เดอนิตช์ถูกตัดสินว่ามีความผิดในการละเมิดสนธิสัญญาทางทะเลกรุงลอนดอนครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1936 แต่เขาไม่ถูกตัดสินว่าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสงครามเรือดำน้ำ[15] |
ฮันส์ ฟรังค์ |
I | O | G | G | ประหารชีวิต | ผู้นำกฎหมายของจักรวรรดิไรซ์ ค.ศ. 1933-45 และผู้ปกครองเขตกักกันชาวยิวในโปแลนด์ ค.ศ. 1939-45 แสดงความสำนึกผิดอย่างเห็นได้ชัด[16] |
วิลเฮล์ม ฟริค |
I | G | G | G | ประหารชีวิต | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของฮิตเลอร์ระหว่าง ค.ศ. 1933-45 และผู้สำเร็จราชการแห่งโบฮีเมีย-โมราเวียระหว่าง ค.ศ. 1943-45 ผู้ร่างกฎหมายเชื้อชาติเนือร์นแบร์ค[17] |
ฮันส์ ฟริทเชอ |
I | I | I | O | ไม่มีความผิด | ผู้บรรยายทางวิทยุที่มีชื่อเสียง หัวหน้ากองข่าวในกระทรวงโฆษณาชวนเชื่อของนาซี ถูกนำตัวมาพิจารณาคดีแทนโยเซฟ เกิบเบิลส์[18] |
วัลเทอร์ ฟุงค์ |
I | G | G | G | จำคุกตลอดชีวิต | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจของฮิตเลอร์ ผู้สืบทอดตำแหน่งผู้ว่าการไรชส์บังค์ถัดจากชัคท์ ถูกปล่อยตัวเนื่องจากปัญหาสุขภาพเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1957[19] เสียชีวิตเมื่อ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 |
แฮร์มัน เกอริง |
G | G | G | G | ประหารชีวิต | ไรช์สมาร์ชัลล์ ผู้บัญชาการลุฟท์วัฟเฟระหว่าง ค.ศ. 1935-45 หัวหน้าแผนการ 4 ปี ค.ศ. 1936-45 เดิมเป็นหัวหน้าเกสตาโพก่อนจะเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าเอ็สเอ็สเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1934 เคยถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากฮิตเลอร์และเป็นผู้นำอันดับที่สองในพรรคนาซี[20] ในปี ค.ศ. 1942 อำนาจของเขาถดถอยลงและความเป็นที่ชื่นชอบของเขาก็หมดลงไปด้วย เขาถูกแทนที่ในสายตำแหน่งนาซีโดยฮิมม์เลอร์ ทำอัตวินิบาตกรรมคืนก่อนหน้าการพิจารณาคดี[21] |
รูดอล์ฟ เฮสส์ |
G | G | I | I | จำคุกตลอดชีวิต | รองฟือเรอร์ของฮิตเลอร์จนกระทั่งบินไปยังสกอตแลนด์ในปี ค.ศ. 1941 เพื่อพยายามเป็นนายหน้าเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักร ถูกตัดสินจำคุกที่เรือนจำสปันเดา เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1987[22] |
อัลเฟรท โยเดิล |
G | G | G | G | ประหารชีวิต | นายพลของกองทัพบกเยอรมัน ผู้ใต้บังคับบัญชาของพลเอกไคเทิล และหัวหน้ากองพลปฏิบัติการของกองบัญชาการทหารสูงสุดระหว่าง ค.ศ. 1938-45 ต่อมาได้ถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดโดยศาลเยอรมันในปี ค.ศ. 1953 แต่ก็ได้มีการกลับการตัดสินอีก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะแรงกดดันจากนายทหารอเมริกัน[23] |
แอ็นสท์ คัลเทินบรุนเนอร์ |
I | O | G | G | ประหารชีวิต | ผู้นำของเอ็สเอ็สยศสูงสุดที่ยังมีชีวิต หัวหน้าไรช์ซิเชอร์ไฮท์เชาพ์ทัมท์ ค.ศ. 1943-45 ซึ่งเป็นหน่วยสืบราชการลับของนาซี ตำรวจรัฐลับและตำรวจสืบสวนอาชญากรรม นอกจากนี้ยังเป็นผู้บัญชาการไอน์ซัทซ์กรุพเพนและค่ายกักกันอีกเป็นจำนวนมาก[24] |
วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล |
G | G | G | G | ประหารชีวิต | หัวหน้าโอเบอร์คอมมันโดเดอร์เวร์มัคท์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยพฤตินัย ค.ศ. 1938–45 ขึ้นชื่อว่ามีความภักดีโดยไม่ข้อแม้ต่อฮิตเลอร์ ลงนามคำสั่งหลายคำสั่งให้ประหารชีวิตทหารและนักโทษการเมือง แสดงความสำนึกผิด ถูกแขวนคอเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946 |
I | I | I | ---- | นักอุตสาหกรรมคนสำคัญของนาซี ซีอีโอของครุพพ์ อา. เก. ค.ศ. 1912-45 มีสุขภาพไม่เหมาะกับที่จะนำขึ้นพิจารณาคดี (เสียชีวิต 16 มกราคม ค.ศ. 1950) พนักงานอัยการพยายามที่จะนำตัวบุตรชาย อัลเฟรด (ผู้ซึ่งบริหารบริษัทแทนบิดาในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของสงคราม) แต่ผู้พิพากษาได้ปฏิเสธความคิดนี้[25] อัลเฟรดถูกพิจารณาคดีในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คแยกต่างหากจากการใช้แรงงานทาส ด้วยเหตุนี้จึงรอดจากโทษประหารชีวิตที่อาจได้รับ | ||
I | I | I | I | ---- | หัวหน้าแนวร่วมแรงงานเยอรมัน(DAF) ทำอัตวินิบาตกรรมเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ก่อนหน้าการพิจารณาคดีเริ่มต้นขึ้น | |
บารอน ค็อนสตันทีน ฟ็อน น็อยราท |
G | G | G | G | จำคุก 15 ปี | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ค.ศ. 1932-38 ซึ่งริบเบนทรอพสืบทอดตำแหน่งต่อ ภายหลังเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งโบฮีเมียและโมราเวีย ค.ศ. 1939-43 ลาออกในปี ค.ศ. 1943 เนื่องจากความขัดแย้งกับฮิตเลอร์ ถูกปล่อยตัวเนื่องจากสุขภาพไม่ดี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954[26] หลังจากมีอาการโรคหัวใจ เสียชีวิต 14 สิงหาคม ค.ศ. 1956 |
I | I | O | O | ปล่อยตัว | นายกรัฐมนตรีเยอรมนีในปี ค.ศ. 1932 และรองนายกรัฐมนตรีสมัยฮิตเลอร์ใน ค.ศ. 1933-34 เอกอัครทูตประจำออสเตรีย ค.ศ. 1934-38 และเอกอัครทูตประจำตุรกี ค.ศ. 1939-44 in 1932 ถึงแม้ว่าจะถูกปล่อยตัวที่เนือร์นแบร์ค ฟอน พาเพนได้ถูกจัดว่าเป็นอาชญากรสงครามในปี ค.ศ. 1947 โดยศาลลบล้างความเป็นนาซี และถูกตัดสินให้ใช้แรงงานหนักเป็นเวลาแปดปี เขาถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดหลังจากอุทธรณ์เมื่อรับโทษไปแล้วสองปี[27] | |
|
G | G | G | O | จำคุกตลอดชีวิต | ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพเรือเยอรมัน ค.ศ. 1928-43 (เกษียณ) สืบทอดตำแหน่งโดยเดอนิตช์ ถูกปล่อยตัวเนื่องจากปัญหาสุขภาพ 26 กันยายน ค.ศ. 1955[28] เสียชีวิต 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1960 |
G | G | G | G | ประหารชีวิต | เอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ค.ศ. 1935-36 เอกอัครราชทูตประจำสหราชอาณาจักร ค.ศ. 1936-38 รัฐมนตรีต่างประเทศนาซี ค.ศ. 1938-45[29] | |
G | G | G | G | ประหารชีวิต | นักทฤษฎีเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในภายหลังเป็นรัฐมนตรีดินแดนยึดครองยุโรปตะวันออก ค.ศ. 1941-45[30] | |
I | I | G | G | ประหารชีวิต | เกาไลแตร์แห่งทูริงเกีย ค.ศ. 1927-45 ผู้มีอำนาจเต็มในโครงการแรงงานทาสนาซี ค.ศ. 1942-45[31] | |
I | I | O | O | ปล่อยตัว | นักการธนาคารและนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญ ประธานไรช์บังค์ก่อนหน้าสงคราม ค.ศ. 1923-30 และ 1933-38 และรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ค.ศ. 1934-37 ยอมรับว่าละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย[32] | |
|
I | O | O | G | จำคุก 20 ปี | หัวหน้ายุวชนฮิตเลอร์ตั้งแต่ ค.ศ. 1933-40 เกาไลแตร์แห่งเวียนนา ค.ศ. 1940-45 แสดงความสำนึกผิดอย่างเห็นได้ชัด[33] |
|
I | G | G | G | ประหารชีวิต | ผู้มีส่วนสำคัญในอันชลูส์และเป็นนายกรัฐมนตรีออสเตรียช่วงสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 1938 เป็นผู้ช่วยฟรังค์ในโปแลนด์ ค.ศ. 1939-40 ในภายหลังเป็นผู้ตรวจการไรช์แห่งดินแดนยึดครองเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1940-45 แสดงความสำนึกผิดอย่างเห็นได้ชัด[34] |
|
I | I | G | G | จำคุก 20 ปี | สถาปนิกคนโปรดและเพื่อนสนิทของฮิตเลอร์ และรัฐมนตรีกระทรวงสรรพาวุธ ค.ศ. 1942-45 ด้วยตำแหน่งหน้าที่ เขาจึงรับผิดชอบการใช้แรงงานทาสจากดินแดนยึดครองในการผลิตอาวุธ แสดงความสำนึกผิดอย่างเห็นได้ชัด[35] |
|
I | O | O | G | ประหารชีวิต | เกาไลแตร์แห่งฟรันโคเนีย ค.ศ. 1922-40 เจ้าของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ แดร์ สทือร์แมร์ (ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านยิว)[36] |
กระบวนการ
แก้ตลอดระยะการพิจารณาคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างมกราคมและกรกฎาคม ค.ศ. 1946 จำเลยและพยานจำนวนหนึ่งได้ถูกสัมภาษณ์โดยจิตแพทย์ชาวอเมริกัน ลีออน โกลเดนสัน บันทึกของเขาได้ให้รายละเอียดถึงพฤติกรรมและข้อคิดเห็นของจำเลยที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเนื้อหาได้ถูกปรับปรุงเป็นรูปแบบหนังสือและตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004[37]
การลงโทษตามคำตัดสินประหารชีวิตนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946 โดยใช้วิธีแขวนมาตรฐานแทนที่จะเป็นการแขวนยาว[38][39] กองทัพสหรัฐปฏิเสธข้อกล่าวอ้างที่ว่าความยาวของเชือกนั้นสั้นเกินไปซึ่งทำให้ผู้ที่ถูกแขวนคอนั้นเสียชีวิตช้ากว่าเนื่องจากหายใจไม่ออกเมื่อเทียบกับการเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเนื่องจากคอหัก[40]
เพฌฆาตคือ จอห์น ซี. วูดส์ ถึงแม้ว่าจะมีข่าวลือเป็นเวลานานว่าร่างนั้นถูกนำตัวไปยังค่ายดาเชาและเผาที่นั่น แต่ข้อเท็จจริงคือร่างนั้นถูกเผาเป็นเถ้าถ่านในเมรุแห่งหนึ่งในมิวนิก และเถ้านั้นถูกโปรยลงไปเหนือแม่น้ำอีซาร์[41]
การนิยามองค์ประกอบของอาชญากรรมสงครามนั้นถูกอธิบายโดยหลักการเนือร์นแบร์ค ซึ่งเป็นชุดเอกสารแนวปฏิบัติซึ่งถูกร่างขึ้นจากผลของการพิจารณาคดีดังกล่าว การทดลองทางการแพทย์โดยแพทย์ชาวเยอรมันซึ่งถูกดำเนินคดีในการพิจารณาแพทย์นั้นนำไปสู่การรวบรวมประมวลกฎหมายเนือร์นแบร์คสำหรับการควบคุมการพิจารณาคดีในอนาคตว่าด้วยการทดลองในมนุษย์ และหลักการทางศีลธรรมสำหรับการทดลองวิจัยในมนุษย์
มรดก
แก้การจัดตั้งศาลทหารระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีครั้งนี้ตามมาด้วยการพิจารณาคดีของเจ้าหน้าที่นาซีชั้นผู้น้อยกว่าและการพิจารณาแพทย์นาซี ผู้ซึ่งทำการทดลองในมนุษย์ในค่ายกักกัน ศาลในครั้งนี้เป็นแม่แบบสำหรับศาลทหารระหว่างประเทศภาคพื้นตะวันออกไกล ซึ่งพิจารณาคดีเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นในข้อหาอาชญากรรมต่อความสงบเรียบร้อยและต่อมนุษยชาติ นอกจากนี้ยังได้เป็นแม่แบบของการพิจารณาคดีไอช์มันน์ และศาลปัจจุบันในกรุงเฮก สำหรับการพิจารณาดคีอาชญากรรมที่ก่อขึ้นระหว่างสงครามบอลข่านในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 และที่อะรูชา สำหรับพิจารณาดคีผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา
การพิจารณาดคีเนือร์นแบร์คมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการพัฒนากฎหมายอาญาระหว่างประเทศ บทสรุปของการพิจารณาคดีครั้งนี้เป็นแม่แบบของ
- อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมพันธุฆาต ค.ศ. 1948
- ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948
- หลักการเนือร์นแบร์ค ค.ศ. 1950
- อนุสัญญาว่าด้วยการไม่ใช้บังคับของอายุความตามกฎหมายในเรื่องอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ค.ศ. 1968
- อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยกฎหมายและธรรมเนียมสงคราม ค.ศ. 1949 และพิธีสารเพิ่มเติมอีกหลายฉบับ ค.ศ. 1977
คณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งกระทำตามคำร้องขอของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้ตีพิมพ์รายงาน "หลักการของกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้ยอมรับในธรรมนูญศาลเนือร์นแบร์ค" และ "การพิพากษาของศาล" ในปี ค.ศ. 1950 (หนังสือประจำปีของคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ ค.ศ. 1950 เล่ม 2[42])
อิทธิพลของศาลยังสามารถเห็นได้จากข้อเสนอในการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการถาวร และการร่างประมวลกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งได้ถูกจัดเตรียมในภายหลังโดยคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ จนกระทั่งนำไปสู่การประกาศใช้ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศในอีกห้าสิบปีถัดมา
อ้างอิง
แก้- ↑ John Crossland Churchill: execute Hitler without trial เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ archive.today in The Sunday Times, 1 January, 2006
- ↑ Tehran Conference: Tripartite Dinner Meeting เก็บถาวร 2006-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน November 29, 1943 Soviet Embassy, 8:30 PM
- ↑ United States Department of State Foreign relations of the United States. Conferences at Malta and Yalta, 1945. p.571
- ↑ The original memorandum from 1944, signed by Morgenthau
- ↑ Chuck Yeager and Leo Janos (1986). Yeager, an Autobiography. Bantam. ISBN 0553256742.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Overy, Richard (27 September 2001). Interrogations: The Nazi Elite in Allied Hands (1st ed.). Allen Lane, The Penguin Press. pp. 19–20. ISBN 0713993502.
- ↑ 7.0 7.1 Heydecker, Joe J.; Leeb, Johannes (1979). Der Nürnberger Prozeß (ภาษาเยอรมัน). Köln: Kiepenheuer und Witsch. p. 97.
- ↑ Minutes of 2nd meeting of BWCE and the Representatives of the USA. Kew, London: Lord Chancellor's Office, Public Records Office. 21 June 1945.
- ↑ 9.0 9.1 Rough Notes Meeting with Russians. Kew, London: Lord Chancellor's Office, Public Records Office. 29 June 1945.
- ↑ Overy, Richard (27 September 2001). Interrogations: The Nazi Elite in Allied Hands (1st ed.). Allen Lane, The Penguin Press. p. 15. ISBN 0713993502.
- ↑ Eugene Davidson, The Trial of the Germans: An Account of the Twenty-Two Defendants Before the International Military Tribunal at Nuremberg, University of Missouri Press, 1997, ISBN 9780826211392, pp. 30-31.
- ↑ Summary of the indictment in Department of State Bulletin, October 21, 1945, p. 595
- ↑ "Nuremberg Trial Proceedings Indictment: Appendix B".
- ↑ "Bormann judgement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-17.
- ↑ "Dönitz judgement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-19. สืบค้นเมื่อ 2009-10-17.
- ↑ "Frank judgement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
- ↑ "Frink judgement".
- ↑ "Fritzsche judgement".
- ↑ "Funk judgement".
- ↑ Kershaw, Ian. Hitler: A Biography, W. W. Norton & Co. 2008, pp 932-933.
- ↑ "Goering judgement".
- ↑ "Hess judgement".
- ↑ "Jodl judgement".
- ↑ "Kaltenbrunner judgement".
- ↑ Clapham, Andrew (2003). "Issues of complexity, complicity and complementarity: from the Nuremberg Trials to the dawn of the International Criminal". ใน Philippe Sands (บ.ก.). From Nuremberg to the Hague: the future of international criminal justice. Cambrifge University Press. ISBN 0521829917.
- ↑ "Von Neurath judgement".
- ↑ "Von Papen judgement".
- ↑ "Raeder judgement".
- ↑ "Von Ribbentrop judgement".
- ↑ "Rosenberg judgement".
- ↑ "Sauckel judgement".
- ↑ "Schacht judgement".
- ↑ "Von Schirach judgement".
- ↑ "Seyss-Inquart judgement".
- ↑ "Speer judgement".
- ↑ "Streicher judgement".
- ↑ Goldensohn, Leon N., and Gellately, Robert (ed.): The Nuremberg Interviews, Alfred A. Knopf, New York, 2004 ISBN 0-375-41469-X
- ↑ "Judgment at Nuremberg" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-06-25. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
- ↑ "The trial of the century". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
- ↑ War Crimes: Night without Dawn. เก็บถาวร 2009-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Time Magazine Monday, October 28, 1946
- ↑ Overy, Richard (27 September 2001). Interrogations: The Nazi Elite in Allied Hands (1st ed.). Allen Lane, The Penguin Press. p. 205. ISBN 0713993502.
- ↑ "Yearbook of the International Law Commission, 1950". Untreaty.un.org. สืบค้นเมื่อ 2009-04-04.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- The Nuremberg Trials เก็บถาวร 2010-06-01 ที่ archive.today Original reports and pictures from The Times
- Official records of the Nuremberg trials (The Blue series) in 42 volumes from the records of the Library of congress
- Nuremberg Trials Project: A digital document collection เก็บถาวร 2016-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Harvard Law School Library