การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956

การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 (ฮังการี: 1956-os forradalom) เป็นการจลาจลทั่วประเทศเพื่อต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนฮังการีและนโยบายที่กำหนดโดยสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ในครั้งนี้นับเป็นภัยคุกคามต่อการปกครองของสหภาพโซเวียตเป็นครั้งแรก นับแต่กองกำลังโซเวียตมีชัยชนะเหนือกองกำลังนาซีในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและเข้ายึดครองยุโรปตะวันออก เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม ถึง 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 ถึงแม้ว่าการก่อการครั้งนี้จะประสบความล้มเหลว แต่มีความสำคัญนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในหลายทศวรรษต่อมา[4]

การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น

ธงชาติฮังการี (ค.ศ. 1949–1956) โดยตราแผ่นดินคอมมิวนิสต์ถูกตัดออก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติ
วันที่23 มิถุนายน – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956
23 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956
(กระแสหลัก)
สถานที่
ผล

โซเวียตได้รับชัยชนะ

  • การปฏิวัติถูกปราบ
คู่สงคราม
 สหภาพโซเวียต
จนถึง 28 ตุลาคม:
ฮังการี สาธารณรัฐประชาชนฮังการี
ตั้งแต่ 4 พฤศจิกายน:
ฮังการี รัฐบาลกาดาร์
นักปฏิวัติชาวฮังการี
ตั้งแต่ 28 ตุลาคม:
(รัฐบาลนอจ)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
สหภาพโซเวียต กองทัพโซเวียต
สหภาพโซเวียต เคจีบี
ฮังการี ÁVH
ฮังการี กลุ่มผู้ภักดีของกองทัพประชาชนฮังการี
กองกำลังพลเรือน
ผู้ประท้วง
ฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติของกองทัพประชาชนฮังการี
กำลัง
ไม่ทราบ
กำลังสนับสนุนทางการเมือง
พรรคประชาชนแรงงาน (จนถึง 28 ตุลาคม)
พรรคแรงงานสังคมนิยม (ตั้งแต่ 4 พฤศจิกายน)
พรรคประชาชนแรงงาน (จนถึง 31 ตุลาคม)
พรรคแรงงานสังคมนิยม
(จนถึง 4 พฤศจิกายน)
พรรคเกษตรกรรายย่อย
พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม
พรรคแปเตอฟี
พรรคประชาธิปไตยประชาชน
พรรคอิสระ
พรรคอื่นที่จัดตั้งขึ้นใหม่
ความสูญเสีย
  • เสียชีวิต 722 คน
  • บาดเจ็บ 1,540 คน[1]
  • เสียชีวิต 2,500–3,000 คน
  • บาดเจ็บ 13,000 คน[2]
พลเรือนเสียชีวิต 3,000 คน[3]

ชนวนเหตุ

แก้

การจลาจลเริ่มต้นขึ้นจากการประท้วงของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งดึงดูดสายตาของผู้คนนับพันที่พวกเขาเดินผ่านจากในกลางกรุงบูดาเปสต์จนถึงอาคารรัฐสภา มีการกระจายเสียงผ่านทางคลื่นวิทยุเรดิโอฟรียุโรป โดยอาศัยรถตู้ติดลำโพง เพื่อหาแนวร่วมจากประชาชนตามท้องถนน ตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐได้กักกันผู้แทนนักเรียนนักศึกษาที่เข้าไปยังม็อดยอร์ ราดิโอเพื่อพยายามกระจายเสียงความต้องการของนักเรียนนักศึกษา ผู้ประท้วงด้านนอกได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวผู้แทนนักเรียนนักศึกษา แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาจากเจ้าหน้าที่คือกระสุนปืนซึ่งยิงออกมาจากด้านในอาคารสถานีวิทยุ เมื่อมีการยิงกระสุนปืนใส่กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ส่งผลให้นักเรียนนักศึกษาคนหนึ่งเสียชีวิต ผู้ประท้วงได้นำร่างของเขาห่อด้วยธงชาติและยกขึ้นเหนือฝูงชน จากเหตุการณ์นี้เองกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฮังการี เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไปก็เกิดความวุ่นวายและความรุนแรงขึ้นทั่วเมืองหลวงของประเทศ

การก่อจลาจลแผ่ขยายอย่างกว้างขวางในประเทศฮังการี เป็นสาเหตุให้การเข้าปกครองของรัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องหยุดชะงักลง ชาวฮังการีหลายพันคนรวมกลุ่มกันตั้งตัวเป็นกองกำลังทหารต่อสู้กับกลุ่มตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐ (Államvédelmi Hatóság) และกองทัพโซเวียต ในช่วงนี้มักมีการประหารชีวิตหรือจำคุกกลุ่มผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์โซเวียตและตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐ สภาแรงงานหัวรุนแรงที่ตั้งขึ้นเฉพาะหน้าเข้าควบคุมการปกครองเทศบาลต่าง ๆ จากรัฐบาลกลางของพรรคประชาชนแรงงานฮังการีและเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รัฐบาลใหม่ประกาศยกเลิกตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐอย่างเป็นทางการ ประกาศความตั้งใจที่จะถอนตัวออกจากสนธิสัญญาวอร์ซอและสัญญาจะจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีขึ้นอีกครั้ง ในช่วงท้ายของเดือนตุลาคม การต่อสู้เริ่มลดน้อยลงและสัญญาณของสภาวะปกติเริ่มกลับมาอีกครั้ง

หลังจากสิ้นสุด

แก้

โปลิตบูโรเปลี่ยนความตั้งใจที่จะถอนกองกำลังทหารออกจากฮังการี และได้เคลื่อนพลเข้ายึดครองกรุงบูดาเปสต์และพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศอีกครั้งในวันที่ 4 พฤศจิกายน ชาวฮังการีจึงลุกขึ้นต่อต้าน แต่ด้วยความที่เหตุการณ์มีความรุนแรงมาก จึงทำให้เกิดความสูญเสียทั้งฝ่ายฮังการีและโซเวียต โดยชาวฮังการีเสียชีวิตมากกว่า 2,500 คน ทหารโซเวียตเสียชีวิตมากกว่า 700 นาย และมีประชาชนอีกกว่า 200,000 คนที่หลบหนีออกนอกประเทศ มีการจับกุมและประณามกลุ่มมวลชนชาวฮังการีที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องหลายเดือน กระทั่งเดือนมกราคม ค.ศ. 1957 โซเวียตจัดตั้งรัฐบาลฮังการีชุดใหม่ได้สำเร็จและได้กำจัดฝ่ายปรปักษ์ ทำให้โซเวียตมีอำนาจขึ้นเหนือภูมิภาคยุโรปตะวันออก เกิดความบาดหมางกับแนวคิดมาร์กซิสตะวันตก ซึ่งเป็นแนวคิดการปกครองอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลในสมัยนั้น

รัฐบาลฮังการีในสมัยต่อมาห้ามมิให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการปฏิวัติครั้งนี้ในที่สาธารณะเป็นเวลามากกว่า 30 ปี กระทั่งในทศวรรษที่ 1980 หัวข้อเกี่ยวกับการปฏิวัติได้กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาและวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อมีการสถาปนาสาธารณรัฐฮังการีที่ 3 ในปี ค.ศ. 1989 วันที่ 23 ตุลาคมจึงได้รับการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

บทนำ

แก้

ประเทศฮังการีเป็นชาติสมาชิกของฝ่ายอักษะในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีสถานะเป็นชาติพันธมิตรของนาซีเยอรมนี อิตาลี โรมาเนียและบัลแกเรีย ในปี ค.ศ. 1941 กองทัพฮังการีมีส่วนร่วมในเหตุการณ์การยึดครองยูโกสลาเวียและปฏิบัติการบาร์บารอสซาร่วมกับชาติสมาชิกฝ่ายอักษะ อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตสามารถต้านทานการรุกรานจากฝ่ายอักษะได้ และเริ่มโต้กลับมุ่งหน้าสู่ฮังการีในปี ค.ศ. 1944

รัฐบาลฮังการีเริ่มการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากกลัวการรุกรานของกองทัพโซเวียต อย่างไรก็ตามการเจรจาต้องยุติลง เมื่อกองทัพนาซีเยอรมันรุกรานและยึดครองฮังการีและจัดตั้งรัฐบาลที่นิยมฝ่ายอักษะ กองกำลังของฮังการีและเยอรมนีที่ประจำอยู่ในฮังการีพ่ายแพ้ต่อกองทัพของสหภาพโซเวียต ซึ่งเข้ารุกรานฮังการีในปี ค.ศ. 1945

การยึดครองหลังสงคราม

แก้

กองทัพโซเวียตเข้ายึดครองประเทศฮังการีหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้ประเทศฮังการีเป็นประเทศภายใค้เขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต ในขณะนั้นประเทศฮังการีปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและใช้ระบบหลายพรรค ผลการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1945 ก่อให้เกิดการร่วมรัฐบาลระหว่างพรรคภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีซลตาน ติลดิ อย่างไรก็ตามพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบลัทธิเลนิน ได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 17 เท่านั้น จึงเริ่มใช้ยุทธวิธีใส้กรอก ในการลดอิทธิพลของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง[5][6]

หลังจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1945 พรรคคอมมิวนิสต์ได้บังคับให้มีการโอนตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีอำนาจดูแลตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐ (Államvédelmi Hatóság, ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ ÁVH) จากพรรค Independent Smallholders สู่ผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์[7] ตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐใช้วิธีการข่มขู่ สร้างข้อกล่าวหาเท็จ จำคุกและทรมานเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง[8] ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ของระบอบประชาธิปไตยถึงจุดสิ้นสุด เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์รวมตัวกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย เพื่อก่อตั้งพรรคประชาชนแรงงานฮังการี ซึ่งชนะการเลือกตั้งเหนือคู่แข่งทางการเมืองอื่นในปี ค.ศ. 1949 ส่งผลให้เกิดการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนฮังการีในเวลาต่อมา[6] และในปีเดียวกันนั้น สหภาพโซเวียตได้บรรลุสนธิสัญญาให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Comecon) โดยรัฐบาลฮังการีอนุญาตให้โซเวียตสามารถคงกองกำลังทหารไว้ในประเทศได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการควบคุมทางการเมือง

อ้างอิง

แก้
  1. Györkei, J.; Kirov, A.; Horvath, M. (1999). Soviet Military Intervention in Hungary, 1956. New York: Central European University Press. p. 370. ISBN 963-9116-35-1.
  2. UN General Assembly Special Committee on the Problem of Hungary (1957) "Chapter V, footnote 8" (PDF).
  3. "B&J": Jacob Bercovitch and Richard Jackson, International Conflict : A Chronological Encyclopedia of Conflicts and Their Management 1945–1995 (1997) p. 85
  4. Reuters, "Divided Hungary marks 1956 anti-Soviet revolt", MSNBC, 23 October 2012.
  5. Kertesz, Stephen D. (1953). Diplomacy in a Whirlpool: Hungary between Nazi Germany and Soviet Russia, Chapter VIII (Hungary, a Republic), p.139-52. University of Notre Dame Press, Notre Dame, Indiana. ISBN 0-8371-7540-2. สืบค้นเมื่อ 2006-10-8
  6. 6.0 6.1 UN General Assembly Special Committee on the Problem of Hungary (1957) Chapter II. A (Developments before 22 October 1956), paragraph 47 (p. 18)
  7. UN General Assembly Special Committee on the Problem of Hungary (1957) Chapter IX D, para 426 (p. 133)
  8. UN General Assembly Special Committee on the Problem of Hungary (1957) Chapter II.N, para 89(xi) (p. 31)


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/> ที่สอดคล้องกัน