การก่อการกำเริบชาติสโลวาเกีย

การก่อกบฏชาติสโลวาเกีย (สโลวัก: Slovenské národné povstanie, abbreviated SNP) หรือการก่อกำเริบปี 1944 เป็นการเคลื่อนไหวของการก่อกบฏด้วยอาวุธโดยกลุ่มต่อต้านสโลวักในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ขบวนการการฝ่ายต่อต้านนี้เป็นตัวแทนส่วนใหญ่โดยสมาชิกพรรคประชาธิปไตย แต่ยังรวมไปถึงพรรคสังคมประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ แม้ว่าจะมีขนาดเล็กก็ตาม มันถูกเปิดฉากเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม ค.ศ. 1944 จากบันสกาบิสตรีตซาในความพยายามที่จะต่อต้านทหารเยอรมันที่ยึดครองดินแดนสโลวาเกียและเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่เป็นฝ่ายให้ความร่วมมือของยอเซ็ฟ ติซอ แม้ว่าการต่อต้านจะจบลงด้วยการถูกปราบปรามอย่างราบคาบโดยกองทัพเยอรมัน ปฏิบัติการรบแบบกองโจรยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งกองทัพโซเวียต กองทัพสโลวาเกีย และกองทัพโรมาเนียได้เข้ามาปลดปล่อยรัฐฟาสซิสต์สโลวาเกียในปี ค.ศ. 1945

การก่อการกำเริบชาติสโลวัก
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง

ขบวนรถของกองทัพฝ่ายก่อกบฏชาติสโลวักใกล้กับเมือง Kelemeš (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของเปรเชา)
วันที่29 สิงหาคม – 28 ตุลาคม ค.ศ. 1944
สถานที่
ผล

เยอรมันและฝ่ายให้ความร่วมมือชนะ

  • การต่อต้านของพลพรรคยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง
คู่สงคราม

 ไรช์เยอรมัน
สโลวาเกีย สาธารณรัฐสโลวักที่ 1

เชโกสโลวาเกีย กองทัพเชโกสโลวักที่หนึ่งในสโลวาเกีย

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี Gottlob Berger
นาซีเยอรมนี Hermann Höfle
สโลวาเกีย Augustín Malár
เชโกสโลวาเกีย Ján Golian 
เชโกสโลวาเกีย Rudolf Viest 
กำลัง
40,000, later increased to 83,000 18,000 initially, later increased to 78,000
ความสูญเสีย
≈10,000 ≈10,000 + 5,304 captured and executed

ในช่วงหลังสงคราม มีหลายหน่วยงานทางการเมือง ส่วนใหญ่เป็นพวกลัทธิคอมมิวนิสต์ พยายามที่จะ"จี้ปล้น"การก่อการกำเริบครั้งนี้เพื่อชื่อเสียงของพวกเขาเอง ระบอบการปกครองลัทธิสตาลินในเชโกสโลวาเกียได้นำเสนอการก่อการกำเริบครั้งนี้ในฐานะเหตุการณ์ที่ริเริ่มและถูกควบคุมโดยกองกำลังคอมมิวนิสต์[1]ชาวสโลวักผู้คลั่งชาตินิยมในฝ่ายตรงข้าม ได้กล่าวอ้างว่าการก่อการกำเริบครั้งนี้เป็นประเด็นที่สำคัญต่อชาติสโลวาเกีย เนื่องจากหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักคือการขับไล่ระบอบหุ่นเชิดของรัฐสโลวักและก่อตั้งเชโกสโลวาเกียขึ้นมาใหม่ ซึ่งสโลวักถูกปกครองโดยชาวเช็ก ในความเป็นจริง หลายฝ่ายที่ต่อสู้ในการก่อการกำเริบ ซึ่งมีขนาดใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยทหารของกองทัพสโลวัก ฝ่ายต่อต้านลัทธิประชาธิปไตย พลพรรคคอมมิวนิสต์ และกองทัพจากต่างประเทศทำให้เกิดการแตกแยก การก่อการกำเริบครั้งนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลายแทบไม่ต้องสงสัยเลย แต่ผู้ที่เข้าร่วมและผู้สนับสนุนของการก่อการกำเริบครั้งนี้เป็นตัวแทนของทุกศาสนา ชนชั้น อายุ และฝ่ายการเมืองต่อต้านนาซีในชาติสโลวัก[2][3]

อ้างอิง

แก้
  1. Plevza, V. (Editor): History of Slovak National Uprising 1944 - 5. vol. Bratislava, Nakladateľstvo Pravda, 1985, pp. 488-496 (In Slovak)
  2. Mičev, S. (Ed.), 2009, Slovak National Uprising 1944. Múzeum SNP, Banská Bystrica, p. 123 (In Slovak)
  3. Lacko, M.: Slovak National Uprising 1944. Bratislava, Slovart, 2008 (In Slovak)