การกักด่าน[1] (อังกฤษ: quarantine) เป็นการจำกัดการเคลื่อนย้ายของบุคคลหรือสินค้าซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคหรือสัตว์รังควาน[2] คำนี้มักใช้โดยมีจุดประสงค์เกี่ยวกับโรคและอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายของบุคคลที่อาจได้รับโรคติดต่อ แต่ยังไม่ผ่านการวินิจฉัยทางการแพทย์ แตกต่างจากการแยกโรค (isolation) ตรงที่ การแยกโรคหมายถึงการแยกผู้ป่วยที่รู้แล้วว่าป่วยออกจากคนอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดการติดต่อของโรค ในขณะที่การกักตัวจะหมายถึงการแยกคนที่ยังไม่ป่วยแต่มีความเสี่ยงว่าจะป่วยออกจากคนอื่นๆ[3] และมักใช้กันอย่างแพร่หลายโดยมีจุดประสงค์เกี่ยวกับการแยกผู้ป่วย บุคคลที่ถูกยืนยันว่ามีโรคติดต่อนั้นจะถูกแยกออกจากประชากรที่มีสุขภาพดี[3]

US President Richard Nixon greeting the Apollo 11 astronauts in NASA's mobile quarantine facility
ธงประมวลสากล "ลีมา" ซึ่งเรียกว่า "Yellow Jack" หมายความว่าเรืออยู่ระหว่างการกักด่าน

คำว่า การกักด่าน ในบางครั้งอาจใช้ร่วมกับคำว่า เขตสุขาภิบาล (ฝรั่งเศส: cordon sanitaire) ซึ่งทั้งสองคำนี้มีความเกี่ยวข้องกัน คำว่า เขตสุขาภิบาล หมายถึงเขตที่กักบริเวณบุคคลที่ได้รับเชื้อจากโรคติดต่อภายในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กำหนดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค[4]

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 101.
  2. "quarantine" noun Merriam Webster definition www.merriam-webster.com, accessed 27 January 2020
  3. 3.0 3.1 Quarantine and Isolation Centers for Disease Control and Prevention, Quarantine and Isolation, accessed 5 February 2020
  4. Rothstein, Mark A. "From SARS to Ebola: legal and ethical considerations for modern quarantine." Ind. Health L. Rev. 12 (2015): 227.