กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ
กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ (เกิด 31 ธันวาคม พ.ศ. 2519) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ที่ปรึกษาด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และอดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตพระนคร
กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ | |
---|---|
กานต์กนิษฐ์ ใน พ.ศ. 2563 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | เจิมมาศ จึงเลิศศิริ |
ถัดไป | ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ |
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 29 เมษายน พ.ศ. 2550 – 15 กันยายน พ.ศ. 2557 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2519 เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2545–2561) พลังประชารัฐ (2561–2566) เพื่อไทย (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ (สมรส 2540 หย่า 2565) |
ประวัติ
แก้กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2519 เป็นบุตรของนายแก้ว แห้วสันตติ อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) 6 สมัย ระหว่างปี จบการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (การจัดการโรงแรมและภัตตาคาร) วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต และ Master of Arts in Communication Management (Communications) มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย กานต์กนิษฐ์เคยสมรสกับ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่ปัจจุบันทั้งสองหย่าร้างกันแล้ว[1]
งานการเมือง
แก้กานต์กนิษฐ์ เคยเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตพระนคร 2 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่าง พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2557 โดยชนะการเลือกตั้งซ่อมแทนบิดาที่ถึงแก่กรรมขณะดำรงตำแหน่ง โดยเขาได้ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557[2]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 กานต์กนิษฐ์ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 1 (เขตพระนคร, เขตสัมพันธวงศ์, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ยกเว้นแขวงถนนนครไชยศรี) สังกัดพรรคพลังประชารัฐ และได้รับเลือกตั้ง[3] ต่อมาในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566 เธอได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเปิดตัวร่วมงานกับพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา[2] จากนั้นได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 แต่ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 3 ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมามีการแต่งตั้งให้เธอดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และที่ปรึกษาด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ[4][5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ทะลุคน ทะลวงข่าว - อดีตส.ส.ดังเปลี่ยน‘สีเสื้อ’ กานต์กนิษฐ์-การุณ-สกลธี สร้างสีสันสนามเมืองหลวง
- ↑ 2.0 2.1 Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-01-17). "เมื่อลุงไม่ปัง!'กานต์กนิษฐ์' ส.ส.เกรดเอ ย้ายขั้วร่วมทัพ 'แลนด์สไลด์ เพื่อไทย' ศึกชิง ส.ส.เขตพระนคร". VoiceTV.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง [จำนวน ๓๔๙ คน ๑.นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ฯลฯ]
- ↑ "วธ.ตั้ง "เพ็ญพิสุทธิ์-กานต์กนิษฐ์-จิรวัฒน์" นั่งโฆษกฯ-รองโฆษกฯ". www.thairath.co.th. 2023-11-29.
- ↑ "ตั้ง "พลภูมิ-สุธนพจน์-กานต์กนิษฐ์" ที่ปรึกษาการค้าและลงทุนระหว่างประเทศ". www.thairath.co.th. 2023-11-29.