กางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญแอนดรูว์ (อังกฤษ: Saltire หรือ Saint Andrew's Cross หรือ crux decussata (ไม่ใช้ในมุทราศาสตร์)) เป็นภาษามุทราศาสตร์และธัชวิทยาที่เป็นเครื่องหมายกางเขนที่มีลักษณะคล้ายอักษร “X” ซึ่งเป็นลักษณะของกางเขนที่เชื่อกันว่าใช้ในการตรึงนักบุญแอนดรูว์

“กางเขนไขว้” หรือ “กางเขนนักบุญแอนดรูว์”

กางเขนไขว้ปรากฏบนธงชาติสกอตแลนด์, ธงชาติจาเมกา และในธง, ตราอาร์ม และ ตราประทับ และใช้ในเครื่องหมายจราจร

นอกจากนั้นแล้วทรงของกางเขนไขว้ก็ยังประยุกต์ไปต่างๆ เช่นที่ใช้บนธงกางเขนแห่งเบอร์กันดีที่ใช้โดยสเปนระหว่าง ค.ศ. 1506 จนถึง ค.ศ. 1701 สำหรับราชนาวี และจนกระทั่ง ค.ศ. 1843 สำหรับกองทัพบก

สัญลักษณ์ในคริสต์ศาสนา

แก้

กางเขนไขว้ปรากฏบน “ธงนำกอง” (vexillum) ที่มักจะปรากฏเสมอบนเหรียญของจักรพรรดิคริสเตียนของจักรวรรดิโรมันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 แอนน์ โรส์พบบนเหรียญของจักรพรรดิคอนแสตนติอัสที่ 2, จักรพรรดิวาเล็นส, จักรพรรดิโจเวียน, จักรพรรดิกราชิอานัส, จักรพรรดิอาร์เคดิอัส และ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 3 เป็นต้น ซึ่งเป็นเพียงเหรียญในที่สะสมโดยพิพิธภัณฑ์บริติชเท่านั้น[1] ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 การใช้กางเขนไขว้ก็เริ่มนิยมกันอีกในคอนสแตนติโนเปิลเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของทวิโลกาธิปไตยหรืออำนาจการเป็นประมุขของทั้งทางโลกและทางศาสนา

สัญลักษณ์ในมุทราศาสตร์

แก้

“กางเขนไขว้” ในมุทราศาสตร์เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายอักษร “X”

ตัวอย่าง นิยาม (Blazon) และ คำอธิบาย
  กางเขนไขว้ (Saltire)
เช่นเดียวกับเครื่องหมายอื่นๆ ในมุทราศาสตร์ที่ยืดจรดขอบโล่ บางครั้งจะนิยามว่า “cross of St Andrew” (กางเขนนักบุญแอนดรูว์) เช่นที่พบบนธงของโนวาสโกเชีย ที่นิยามว่า “Argent, a cross of St. Andrew azure, charged with an inescutcheon of the royal arms of Scotland” (“พื้นตราสีเงิน กางเขนนักบุญแอนดรูว์สีน้ำเงิน เครื่องหมายบนโล่ภายในตราตราอาร์มของสกอตแลนด์”)
  กางเขนไขว้ลอย (Saltire couped)
เป็นกางเขนไขว้ที่แขนกางเขนไม่จรดขอบโล่ (“couped” = ตัดออก) เช่นที่พบบนตราของ Mundolsheim
  กางเขนไขว้แคบ (saltorel)
เป็นกางเขนที่มีความกว้างเพียงครึ่งหนึ่งของ “กางเขนไขว้” ปกติกางเขนแคบจะพบบ่อยในตราที่สร้างขึ้นใหม่
  กางเขนไขว้บาง (Fillet saltire)
เป็นกางเขนที่มีความกว้างเพียงครึ่งหนึ่งของ “กางเขนไขว้แคบ”
  แบ่งกางเขนไขว้ (party per saltire)
เป็นเส้นแบ่งชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับในตัวอย่างทางซ้าย ซึ่งเป็นการแบ่งโล่ออกเป็นสี่ส่วนตามรูปอักษร “X” ถ้าใช้ผิวตราสองสี สีแรกที่นิยามจะเป็นสีตอนบนของเส้นแบ่งตามด้วยสีในช่องซ้ายหรือขวา ถ้าไม่เช่นนั้นแต่ละช่องก็จะนิยามแยกจากกันที่เริ่มด้วยช่องบนตามด้วยช่องซ้าย, ขวา และ ล่าง
  กางเขนไขว้แปลง (in saltire)
กางเขนแปลงหมายถึงกางเขนไขว้สองชนิด ชนิดแรกเป็นกางเขนที่สร้างจากเครื่องหมายอื่นเป็นรูปอักษร “X” เช่นกุญแจที่มักจะเกี่ยวกับนักบุญปีเตอร์ หรือ กางเขนไขว้ที่ใช้เครื่องหมายมากกว่าห้า เครื่องหมายหนึ่งตรงกลาง และอีกหนึ่งหรือมากกว่านั้นบนแต่ละแขนกางเขน

ตัวอย่าง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Anne Roes, "An Iranian standard used as a Christian symbol", The Journal of Hellenic Studies, 57.2 (1937), pp. 248-51

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กางเขนไขว้   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กางเขนไขว้ในมุทราศาสตร์