การกอด
การกอด (อังกฤษ: hug) เป็นรูปแบบของความใกล้ชิดทางกาย (physical intimacy) และเป็นสิ่งสากลในชุมชนมนุษย์ ซึ่งคนสองคนหรือมากกว่านำแขนคล้องรอบคอ หลัง หรือเอวของกันและกันเพื่อจับกันไว้อย่างใกล้ชิด หากมีคนร่วมมากกว่าสองคนจะเรียกว่า การกอดแบบกลุ่ม (group hug)
แหล่งกำเนิดคำ
แก้ไม่มีใครรู้ต้นกำเนิดที่แท้จริงของคำ ทว่าขณะนี้มีอยู่สองทฤษฎีที่เป็นไปได้ ทฤษฎีแรกคือคำกริยา "hug (การกอด)" ซึ่งถูกใช้ครั้งแรกสมัยคริสต์ทศวรรษ 1560 อาจเกี่ยวข้องกับคำว่า hugga ในภาษานอร์สโบราณ ที่แปลว่าการปลอบประโลม ทฤษฎีที่สองเกี่ยวข้องกับคำว่า hegen ในภาษาเยอรมัน ซึ่งแปลว่า การเลี้ยงดูหรือดูแล แต่เดิมแปลว่าการล้อมด้วยพุ่มไม้[1]
ลักษณะ
แก้การกอดบางครั้งใช้ร่วมกับการจูบ เป็นรูปแบบนึงของอวัจนภาษา การกอดสามารถชี้ถึงความคุ้นเคย, ความรัก, ความหลง, ความเป็นเพื่อน, ความเป็นพี่น้อง หรือความเห็นใจ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม บริบท และความสัมพันธ์[2] การกอดสามารถชี้ถึงการสนับสนุน การปลอบประโลม และเป็นการปลอบขวัญโดยเฉพาะสถานการณ์ที่คำพูดไม่เพียงพอ การกอดมักแสดงถึงความรักและความอบอุ่นทางอารมณ์ บางครั้งอาจมาจากความดีใจหรือความสุขเมื่อพบเจอคนที่ไม่ได้เจอมาเป็นเวลานาน การกอดฝ่ายเดียวอาจแสดงถึงปัญหาในความสัมพันธ์ การกอดสามารถเป็นเพียงการบีบเพียงหนึ่งวินาทีโดยที่แขนอาจไม่ได้ล้อมรอบตัวอีกคน หรืออาจเป็นคงไว้เป็นเวลานาน ระยะเวลาในการกอดขึ้นอยู่กับสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละสถานการณ์[3]
ต่างจากการสัมผัสทางกายแบบอื่น การกอดสามารถกระทำในที่สาธารณะและที่ส่วนตัวโดยไม่ถูกมองว่าเป็นมลลักษณ์ทางสังคม (social stigma) ในหลายประเทศ ศาสนา และวัฒนธรรม ทั้งภายในครอบครัว และในทุกช่วงอายุและเพศ[4]
การกอดอย่างไม่คาดฝันอาจถูกมองว่าเป็นการบุกรุกพื้นที่ส่วนตัว ทว่าหากอีกฝ่ายรู้ตัวก็อาจเป็นการสื่อถึงการต้อนรับ นักวิจารณ์วัฒนธรรมตะวันตกบางคนเสนอให้หลีกเลี่ยงการกอดในที่ทำงานเพื่อป้องกันสถานการณ์น่าอึดอัด โดยเฉพาะกับบางคนที่ไม่ชอบกอด[5] นอกจากนี้ คนโดยเฉพาะเด็กอาจกอดตุ๊กตาหรือของเล่น เด็กเล็กยังมักกอดผู้ปกครองเมื่อรู้สึกโดนรุกรานโดยคนแปลกหน้า พฤติกรรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่าการเกาะติดมากกว่าการกอดเนื่องจากเป็นการแสดงถึงความต้องการให้ปกป้อง ไม่ใช่การแสดงความรัก
ประโยชน์ทางสุขภาพ
แก้มีหลักฐานว่าการกอดให้ผลดีทางสุขภาพ งานวิจัยหนึ่งแสดงว่าการกอดเพิ่มระดับออกซิโตซิน และลดความดันเลือด[6]
งานวิจัยชี้ว่าการกอดนานกว่า 20 วินาทีทำให้ออกซิโทซินถูกปล่อยออกมา[7]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Online Etymology Dictionary
- ↑ Kathleen Keating (1994). The Hug Therapy Book. Hazelden PES. ISBN 1-56838-094-1.
- ↑ Packheiser, J., Rook, N., Dursun, Z., Mesenhöller, J., Wenglorz, A., Güntürkün, O., & Ocklenburg, S. (2018). Embracing your emotions: affective state impacts lateralisation of human embraces. Psychological research, 1-11.
- ↑ Duranti, Alessandro (June 1997). "Universal and Culture-Specific Properties of Greetings". Journal of Linguistic Anthropology. 7 (1): 63–97.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ "A New Rule For The Workplace: 'Hug Sparingly'". NPR. 2014-01-11.
- ↑ "How hugs can aid women's hearts". BBC News. August 8, 2005. สืบค้นเมื่อ 2008-11-28.
- ↑ "The health benefits of hugging".
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การกอด