กองพลทหารราบที่ 7
กองพลทหารราบที่ 7 เป็นกองพลทหารราบภูเขาของกองทัพบกไทย ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพภาคที่ 3 หน่วยประกอบด้วยกรมทหารราบที่ 17[2][3] โดยมีผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 คนปัจจุบัน ( 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567) คือ พลตรี สุจินต์ ทรัพย์สิน
กองพลทหารราบที่ 7 | |
---|---|
ตราประจํากองพลทหารราบที่ 7 | |
ประจำการ | 17 มีนาคม พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน |
ประเทศ | ไทย |
รูปแบบ | ทหารราบเบา[1] ทหารราบภูเขา |
บทบาท | การสงครามภูเขา |
กำลังรบ | กองพล |
ขึ้นกับ | กองทัพภาคที่ 3 |
กองบัญชาการ | ค่ายขุนเณร ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 |
สมญา | ทหารเสือพระองค์ดํา |
ปฏิบัติการสำคัญ | ความขัดแย้งภายในพม่า (มนุษยธรรม/ต่อต้านยาเสพติด) ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้[1] |
เว็บไซต์ | http://www.infdiv7.com/index1.htm (ไทย) |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการปัจจุบัน | พลตรี สุจินต์ ทรัพย์สิน |
ประวัติ
แก้กองพลทหารราบที่ 7 จัดตั้งขึ้นตามคําสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 9/54 โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้ลงนามในคําสั่งเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 กําลังพลส่วนแรกมี 60 นาย จัดจากกองพลทหารราบที่ 4 เป็นหลัก และหน่วยขึ้นตรงของกองทัพภาคที่ 3 ได้เคลื่อนย้ายเข้าที่ตั้งเดิมของกองพลรบพิเศษที่ 2 เริ่มปฎิบัติงานวันแรกเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 และได้รับมอบการบังคับบัญชาหน่วยขึ้นตรงจากกองพลทหารราบที่ 4 ประกอบด้วย 2 กรมทหารราบ และ 2 กองพันทหารปืนใหญ่ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยมีแนวคิดในการจัดตั้งหน่วยให้มีความเข้มแข็ง มีความทันสมัย พร้อมสู่อนาคต[4]
โครงการจัดตั้งกองพลทหารราบที่ 7 ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 แบ่งการจัดตั้งออกเป็น 5 ระยะ ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2568 รวมเป็นระยะเวลา 15 ปี โดยในปี พ.ศ. 2564 กองทัพบกมีคําสั่ง (เฉพาะ) ที่ 550/64 เรื่อง การปรับการบังคับบัญชากรมทหารราบที่ 7, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 17 โดยพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบกได้ลงนามในคําสั่งดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยให้กรมทหารราบที่ 7, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 17 จากเดิมเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองพลทหารราบที่ 7 ให้เปลี่ยนเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองพลทหารราบที่ 4 โดยให้กระทําพิธีส่งมอบการบังคับบัญชาให้กับกองพลทหารราบที่ 4 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564[5]
หน่วยขึ้นตรง
แก้- กรมทหารราบที่ 17 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 17 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายสุรศักดิ์มนตรี ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 17 ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งกองบังคับการที่ค่ายเม็งรายมหาราช ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 17 ตั้งกองบังคับการที่ค่ายขุนจอมธรรม ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
รายนามผู้บัญชาการ
แก้รายนามผู้บัญชาการ | |||
ลำดับ | นาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | พลตรี กฤษณ์ กิจสุวรรณ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 | |
2 | พลตรี อุกฤษณ์ อากาศวิภาต | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 | |
3 | พลตรี สุทัศน์ จารุมณี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
4 | พลตรี อุทัย ชัยชนะ | 1 เมษายน พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
5 | พลตรี ณัฐวุฒิ ชุณหะนันทน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 | |
6 | พลตรี บรรณวัฒน์ พรหมจรรย์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
7 | พลตรี จรัส ปัญญาดี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564 | |
8 | พลตรี จิราวัฒน์ จุฬากุล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565 | |
9 | พลตรี ชายแดน กฤษณสุวรรณ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2567 | |
9 | พลตรี สุจินต์ ทรัพย์สิน | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 กองพลทหารราบที่ 7 ก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 อย่างยิ่งใหญ่ - Chiang Mai News
- ↑ เปิด 'พิมพ์เขียว' พล.ร.7 รับศึกตะวันตก - คมชัดลึก
- ↑ กองทัพจัดตั้ง “พล.ร.7” รับมือภัยคุกคามฝั่งตะวันตก – สแกนกำลัง “ชนกลุ่มน้อย-พม่า” กับสัญญาณแรก “นะคะมวย” - ThaiPublica
- ↑ "history of 7th Infantry Division". 7th Infantry Division (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-28.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "history of 7th Infantry Division". 7th Infantry Division (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-28.[ลิงก์เสีย]