กองกำลังป้องกันชาติ (ฝรั่งเศส)
กองกําลังป้องกันชาติฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Garde nationale) เป็นกองกำลังสำรองของตำรวจ ฌ็องดาร์เมอรี (gendarmerie แปลว่า ตำรวจกึ่งทหาร) และกองทัพฝรั่งเศส ประจำการในรูปแบบปัจจุบันตั้งแต่ ค.ศ. 2016 แต่เดิมถูกก่อตั้งใน ค.ศ. 1789 ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
กองกําลังป้องกันชาติ | |
---|---|
Garde nationale | |
ตราสัญลักษณ์ของกองกําลังป้องกันชาติฝรั่งเศส (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016) | |
ประจำการ | ค.ศ. 1789–1827 ค.ศ. 1831–1872 ค.ศ. 2016–ปัจจุบัน |
ประเทศ | ฝรั่งเศส |
รูปแบบ | กองกำลังสำรอง ฌ็องดาร์เมอรี |
กำลังรบ | มากกว่า 77,000 นาย[1] |
ขึ้นกับ | กองทัพบกฝรั่งเศส ตำรวจแห่งชาติ |
คำขวัญ | Honneur et Patrie ('เกียรติยศและปิตุภูมิ') |
ปฏิบัติการสำคัญ |
|
เว็บไซต์ | garde-nationale |
ผู้บังคับบัญชา | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | เซบัสเตียง เลคอร์นู |
เลขาธิการแห่งกองกำลังป้องกันชาติ | General Louis-Mathieu Gaspari |
ผบ. สำคัญ | ฌีลแบร์ ดูว์ มอตีเย, มาร์กี เดอ ลา ฟาแย็ต |
ในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ กองกำลังป้องกันชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่นายทหารนั้น ถูกมองอย่างกว้างขวางว่า เป็นพวกที่ภักดีต่อผลประโยชน์ของชนชั้นกลาง ถูกก่อตั้งขึ้นโดยแยกตัวออกจากกองทัพบกฝรั่งเศสและการมีอยู่สำหรับทั้งการตรวจตรารักษาความสงบ และกองกำลังสำรองทหาร อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1795 กองกำลังป้องกันชาติได้ถูกมองว่าเป็นพวกฝ่ายปฏิวัติและระดับชั้นล่างถูกระบุโดยซ็อง-กูว์ล็อต ประสบกับช่วงเวลาแห่งการถูกยุบเลิกอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ ค.ศ. 1827 ถึง ค.ศ. 1830 แต่ก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ไม่นานภายหลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียใน ค.ศ. 1870-71 กองกำลังป้องกันชาติในปารีสถูกมองอีกครั้งว่าเป็นพวกฝ่ายปฏิวัติที่เป็นภัยอันตราย ซึ่งส่งผลทำให้กองกำลังหน่วยนี้ต้องถูกยุบเลิกไปใน ค.ศ. 1871[2]
ใน ค.ศ. 2016 ฝรั่งเศสได้ประกาศก่อตั้งกองกำลังป้องกันชาติอีกครั้งเป็นครั้งที่สอง เพื่อเป็นการตอบโต้การโจมตีในประเทศหลายครั้งของเหล่าผู้ก่อการร้าย[3][4][5]
การก่อตั้ง
แก้การก่อตั้งของ "กองกำลังพิทักษ์กระฎุมพี"("garde bourgeoise") สำหรับปารีสได้ถูกพิจารณาโดยสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม ค.ศ. 1789 เพื่อตอบสนองต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สั่งปลดฌัก แนแกร์ออกจากตำแหน่งมุขมนตรีแห่งรัฐฝรั่งเศสและขุนคลังเอก[6] แล้วให้บารอนแห่งเบรอเตยเข้ามาทำหน้าที่แทนอย่างรวดเร็วและน่าตกใจในวันนั้น การสับเปลี่ยนบุคคลครั้งนี้สร้างความโกรธแค้นและความรุนแรงลุกลามไปทั่วปารีสอย่างรวดเร็ว สมัชชาแห่งชาติได้ประกาศจัดตั้ง "กองทหารอาสาสมัครกระฎุมพี" ("milice bourgeoise") เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม[7][8] ในช่วงเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้น การค้นหาอาวุธสำหรับกองทหารอาสาสมัครหน่วยใหม่นี้นำไปสู่การบุกทลายศาลากลาง ออแตลเดแซ็งวาลีด และจากนั้นจึงบุกทลายคุกบัสตีย์
ลาฟาแย็ตได้รับเลือกให้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทหารอาสาสมัครกระฎุมพี เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม และเปลี่ยนชื่อเป็น "กองกำลังป้องกันชาติแห่งปารีส" เมื่อกองกำลังพิทักษ์ฝรั่งเศส (French Guards) ได้ลุกฮือก่อกบฎ และถูกยุบเลิกในเดือนเดียวกัน ยศตำแหน่งและแฟ้มข้อมูลส่วนใหญ่ของอดีตกรมทหารหลวงหน่วยนี้กลายเป็นกลุ่มคนที่ได้รับการฝึกแบบเต็มเวลาของกองกำลังป้องกันชาติแห่งปารีส หน่วยทหารที่มีความคล้ายคลึงกันของกองกำลังป้องกันชาติถูกสร้างขึ้นด้วยตนเองในเมืองและเขตชนบทของฝรั่งเศสเพื่อตอบสนองต่อความหวาดกลัวอย่างกว้างขวางต่อความวุ่นวายโกลาหลหรือการต่อต้านการปฏิวัติ กองทหารอาสาสมัครกระฎุมพีได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองกำลังป้องกันชาติ เช่นเดียวในลีมอฌ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1789 ซึ่งไม่อนุญาตให้มีหน่วยทหารหน่วยอื่น[9]
ในช่วงแรก เมืองใหญ่ เมืองเล็ก และหมู่บ้านแต่ละแห่งจะคอยกำกับดูแลกองกำลังป้องกันชาติที่ถูกดำเนินโดยรัฐบาลท้องถิ่นของตนในตำบลเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปี พวกเขารวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1790 ภายใต้การนำของลาฟาแย็ต ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็น "นายพลผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันชาติทั้งปวงแห่งราชอาณาจักร" และรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพ
อ้างอิง
แก้- ↑ "La Garde nationale | garde-nationale.fr".
- ↑ "France to create new National Guard 'to protect its citizens'". Local.fr. 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
- ↑ "France to create new National Guard 'to protect its citizens'". Local.fr. 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
- ↑ "France to form National Guard to counter terrorist threat, Hollande says". France 24. 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
- ↑ France creates National Guard to battle terrorism
- ↑ Unknown (1788–1790). "Mr Necker". Archives départementales de la Seine-Saint-Denis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-25. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
- ↑ A Self-Defining Bourgeoisie in the Early French Revolution: The Milice bourgeoise, the Bastille Days of 1789, and their Aftermath by Micah Alpaugh. In: Journal of Social History, 2014
- ↑ The Making of the Sans-culottes: Democratic Ideas and Institutions in Paris ... By Robert Barrie Rose, p. 49
- ↑ Almanach de la Garde nationale du Limousin, 1 janvier 1790, p. 48, 53