กล้ามเนื้อทราพีเซียส

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส (อังกฤษ: Trapezius) เป็นกล้ามเนื้อในชั้นตื้นที่อยู่ด้านหลังของมนุษย์ เลี้ยงโดยเส้นประสาทแอกเซสซอรี (accessory nerve) หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 และโดยแขนงประสาทด้านท้องของเส้นประสาทสันหลังส่วนคอที่ 3 และ 4 ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงกล้ามเนื้อนี้แล้วยังเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ด้วย เนื่องจากใยกล้ามเนื้อนี้วางตัวในหลายทิศทาง กล้ามเนื้อทราพีเซียสจึงทำหน้าที่ได้หลากหลาย ได้แก่

  • กางกระดูกสะบักออก (scapular abduction)
  • ดึงรั้งกระดูกสะบัก (scapular retraction)
  • กดกระดูกสะบักลง (scapular depression)
กล้ามเนื้อทราพีเซียส
(Trapezius)
กล้ามเนื้อทราพีเซียส
กล้ามเนื้อที่ต่อกับรยางค์บนไปยังกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อทราพีเซียสอยู่ทางด้านบนซ้าย
รายละเอียด
จุดยึดมาตามแนวกลางลำตัวจากปุ่มนอกของท้ายทอย (external occipital protuberance) , เอ็นหลังคอ (nuchal ligament) , เส้นหลังคอ (nuchal line) ด้านกลางลำตัว และ spinous process ของกระดูกสันหลัง C7-T12
จุดเกาะไหล่, กระดูกไหปลาร้าด้านนอกลำตัว, อโครเมียน (acromion) , และแนวสันกระดูกสะบัก (scapular spine)
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงทรานสเวิร์ส เซอร์วิคัล (transverse cervical artery) [1]
ประสาทเส้นประสาทที่เลี้ยงส่วนใหญ่มาจากเส้นประสาทแอกเซสซอรี (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 11) ส่วนความเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อนี้รับจากเส้นประสาทคอที่ 3 และ 4
การกระทำดึงรั้ง (retract) กระดูกสะบัก
ตัวต้านกล้ามเนื้อเซอร์ราตัส แอนทีเรียร์, กล้ามเนื้อแลททิสซิมุส ดอร์ไซ
ตัวระบุ
ภาษาละตินmusculus trapezius
TA98A04.3.01.001
TA22226
FMA9626
ศัพท์ทางกายวิภาคของกล้ามเนื้อ

โดยอาศัยใยกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ต่างๆ ดังนี้

  • ในกล้ามเนื้อด้านบนทำหน้าที่ยกกระดูกสะบัก
  • ใยกล้ามเนื้อตรงกลางทำหน้าที่ดึงรั้งกระดูกสะบัก
  • ใยกล้ามเนื้อด้านล่างทำหน้าที่กดกระดูกสะบัก
  • ใยกล้ามเนื้อด้านบนและด้านล่างทำงานร่วมกันในการหมุนกระดูกสะบักขึ้น (superiorly rotate)

อ้างอิง

แก้
  1. "Tufts". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-22. สืบค้นเมื่อ 2007-12-11.

ภาพอื่นๆ

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้