กลุ่มชุดรบ

รูปแบบพื้นฐานของกำลังรบกองทัพสมัยใหม่

กลุ่มชุดรบ[1] (อังกฤษ: battlegroup) (ศัพท์ของสหราชอาณาจักร / เครือจักรภพ) หรือ กองกำลังเฉพาะกิจ (ศัพท์ของสหรัฐ) ในทฤษฏีการทหารสมัยใหม่ ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของกำลังรบของกองทัพบก กลุ่มชุดรบถูกสร้างขึ้นมามีขนาดประมาณกองพันทหารราบ หรือกรมทหารยานเกราะ ซึ่งปกติจะบัญชาการโดยทหารยศพันโท กองพันหรือกรมทหารยังจัดให้มีส่วนบังคับบัญชาและเสนาธิการมาเป็นองค์ประกอบของกลุ่มชุดรบ ซึ่งได้รับการประกอบกำลังเสริมจากยานเกราะ ทหารราบ บุคลากรทางทหารสนับสนุนและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมกับภารกิจที่จะถูกมอบหมายให้

ทหารบกเนเธอร์แลนด์ ประจำกองพันสนับสนุนการยิง ระหว่างการซ้อมรบกลุ่มชุดรบของเนโท ในเยอรมนีปี พ.ศ. 2557

การจัดหน่วยของกลุ่มชุดรบมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับโครงสร้างใหม่ได้อย่างรวดเร็วเพื่อใช้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ปกติแล้วกลุ่มชุดรบจะมีโครงสร้างคล้ายกันกับกรมทหารยานเกราะที่ประกอบไปด้วย 2 กองพันทหารม้า (รถถังหลัก) และได้รับการสนับสนุนจาก 1 กองร้อยทหารราบ ในทางกลับกัน กลุ่มชุดรบที่เน้นการป้องกันสูงอาจมีโครงสร้างคล้ายกับกองพันทหารราบที่ประกอบไปด้วยทหาร 2 กองร้อยและ 1 กองพันทหารม้ายานเกราะ ในการสนับสนุนหมวดลาดตระเวน การจัดหน่วยแยกป้องกันอากาศยานระดับต่ำ ตอนต่อต้านรถถัง, หน่วยยกทหารช่าง และการสนับสนุนปืนใหญ่

กลุ่มชุดรบมักถูกแบ่งย่อยออกเป็นกลุ่มกองร้อย (เรียกว่า "ชุด"[2] (team) ในกองทัพบกสหรัฐ) ประกอบไปด้วยกองร้อยทหารราบที่ได้รับการสนับสนุนจากหมวดรถถังและหน่วยสนับสนุนอื่น ๆ อีกมากมาย

สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ

แก้

ในกองทัพบกสหราชอาณาจักร กองพลยานเกราะหรือกองพลยานยนต์สามารถแบ่งเป็นกลุ่มชุดรบได้มากถึง 12 กลุ่มชุดรบได้หากต้องการ โดยมี 3 หรือ 4 กองพลน้อยภายในชุดรบ กลุ่มชุดรบของเครือจักรภพมักจะตั้งชื่อตามองค์ประกอบหลัก เช่น "กองพันที่ 1 กลุ่มชุดรบกรมทหารแคนาดา กองทัพบกแคนาดา" (1st Battalion, The Royal Canadian Regiment Battle Group) ที่ปฏิบัติการในอัฟกานิสถานในปี พ.ศ. 2550–2551[3] และในกองทัพสหราชอาณาจักร "กลุ่มชุดรบพาราที่ 3" ที่ปฏิบัติการในอัฟกานิสถานในปี พ.ศ. 2554[4]

อินเดีย

แก้

ในอินเดีย ซึ่งใช้หลักนิยมโคล์ดสตาร์ท (Cold Start) ได้สร้างสร้างกลุ่มกองพลน้อยอิสระ (independent brigade group) ขึ้นมาซึ่งมีองค์ประกอบที่ใหญ่กว่ากองกำลังเฉพาะกิจเพียงเล็กน้อย เป็นการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทั้งหมดเพื่อจุดประสงค์ในการทำสงครามกับปากีสถานโดยเฉพาะ องค์ประกอบในการบุกรุกคืบคือกลุ่มกองพลน้อยติดอาวุธอิสระ (independent armed brigade group) (มักจะประกอบไปด้วยหน่วยยานเกราะ) และกลุ่มกองพลน้อยรุกอิสระ (independent offensive brigade group) (มักจะประกอบด้วยทหารราบ) ซึ่งช่วงเวลาในการวางกำลังตามแนวชายแดนของกองทัพบกอินเดียเป็นอย่างมาก

แอฟริกาใต้

แก้

ในแอฟริกาใต้ได้พัฒนากลุ่มชุดรบกึ่งอิสระขึ้นมาจากประสบการณ์ของกองกำลังเฉพาะกิจจูเลียต โดยเน้นไปที่ความเร็วที่สูงและระยะทางในการเคลื่อนที่ในเขตสงครามแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้/แองโกลาตอนใต้ กลุ่มชุดรบยานยนต์เหล่านี้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกองพลน้อยที่ 60 (60 Brigade) เช่น กลุ่มกองพันยานยนต์ที่ 61 (61 Mechanised Battalion Group)

อื่น ๆ

แก้

ประเทศส่วนใหญ่จัดกลุ่มชุดรบตามความจำเป็นสำหรับวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติการหรือการฝึกซ้อม เมื่อไม่ได้จัดกำลังในรูปแบบกลุ่มชุดรบ กำลังในกลุ่มชุดรบจะกลับไปประจำการยังต้นสังกัดเดิมของตน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. คู่มือฝ่ายอำนวยการ The Battle Staff Smartbook (PDF). กรมยุทธการทหารบก.[ลิงก์เสีย]
  2. ศัพท์ทหารไทย - สหรัฐ (PDF). กรมจเรทหารบก.
  3. Smyth 2008.
  4. MOD staff 2011.

บรรณานุกรม

แก้