กฤษฎา จีนะวิจารณะ
กฤษฎา จีนะวิจารณะ ม.ป.ช. ม.ว.ม. จ.ภ. (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2506) ชื่อเล่น ตู่ กรรมการในคณะกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการอิสระ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา ใน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังและ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กฤษฎา จีนะวิจารณะ | |
---|---|
กฤษฎา ใน พ.ศ. 2557 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 250 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการ | เศรษฐา ทวีสิน (2566 - 2567) พิชัย ชุณหวชิร (2567) |
ก่อนหน้า | สันติ พร้อมพัฒน์ |
ปลัดกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (2 ปี 334 วัน) | |
รัฐมนตรีว่าการ | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ |
ก่อนหน้า | ประสงค์ พูนธเนศ |
ถัดไป | ลวรณ แสงสนิท |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 เมษายน พ.ศ. 2506 |
พรรคการเมือง | รวมไทยสร้างชาติ (2566 - 2567) |
ศิษย์เก่า | คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ | ข้าราชการ นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | ตู่ |
อดีตกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อดีตอธิบดีกรมศุลกากร อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตกรรมการอิสระ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) อดีตกรรมการบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตกรรมการ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) อดีตกรรมการตรวจสอบ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ อดีตกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย อดีตเลขานุการเอก (ฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง) สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง ประจำสหราชอาณาจักรและยุโรป สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน
ประวัติ
แก้กฤษฎา จีนะวิจารณะ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2506 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท M.B.A. จาก มหาวิทยาลัยนิวเฮเวน
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับสิริมงคล โชติกเสถียร แต่ปัจจุบันได้หย่าขาดจากกันแล้ว
รับราชการ
แก้เมื่อจบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกานายกฤษฎาก็ได้เข้ารับราชการในกระทรวงการคลังจนกระทั่งได้เป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ก่อนจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554[1]
ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้นายกฤษฎาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แทนนายสมชัย สัจจพงษ์ ที่โยกไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากรเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[2] จากนั้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฤษฎาให้เป็นอธิบดี กรมสรรพสามิต[3] แทนนาย สมชาย พูลสวัสดิ์ ที่เกษียณอายุราชการ
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายกฤษฎาดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมศุลกากร[4] แทนนาย กุลิศ สมบัติศิริ ที่โอนไปรับราชการในตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพลังงาน ต่อมาในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ประชุมมีมติให้นายกฤษฎาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังสืบแทนนาย ประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลังที่เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 [5]
ต่อมาในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 นายกฤษฎาได้ยื่นหนังสือลาออกจากราชการเพื่อมารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ทำให้พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง[6] ต่อมาภายหลังการปรับคณะรัฐมนตรีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ได้มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ และแต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเพิ่มเติม จึงมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งแบ่งงานให้รัฐมนตรีรับผิดชอบ ส่งผลให้นายกฤษฎา ขอลาออกจากตำแหน่งซึ่งมีผลในทันที (8 พฤษภาคม)[7][8][9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[12]
- พ.ศ. 2558 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 78/2557 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ↑ ครม.แต่งตั้ง3ปลัด'กฤษฎา'ผงาดคลัง 'ทองเปลว'เกษตรฯ 'ธานี'ต่างประเทศ
- ↑ ‘กฤษฎา’ ปลัดคลัง ยื่นลาออกแล้ว หลังมีชื่อติดโผ รมช.คลัง
- ↑ ‘เศรษฐา’ ยัน ‘กฤษฎา’ ลาออกมีผลเรียบร้อยแล้ว
- ↑ กางงานกระทรวงคลัง ชนวนเหตุรัฐมนตรีช่วย กฤษฎา ขอยื่นลาออก
- ↑ กฤษฎา รมช.คลัง ลาออก มีผลพ้นจากตำแหน่งแล้ว กฤษฎีการะบุ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๘, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ก่อนหน้า | กฤษฎา จีนะวิจารณะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สันติ พร้อมพัฒน์ | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567) |
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เผ่าภูมิ โรจนสกุล
| ||
ประสงค์ พูนธเนศ | ปลัดกระทรวงการคลัง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566) |
ลวรณ แสงสนิท |