กรีซยุคอาร์เคอิก

กรีซยุคอาร์เคอิก (อังกฤษ: Archaic Greece) ยุคอาร์เคอิกของกรีซ คือสมัยอารยธรรมของประวัติศาสตร์กรีซโบราณที่รุ่งเรืองราวระหว่าง 800 ถึง 480 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1] อันเป็นยุคก่อนก่อนหน้ากรีซยุคคลาสสิก (ศตวรรษที่ 4 และ 5 ก่อนคริสตกาล) กรีซในยุคอาร์เคอิกเป็นช่วงเวลาที่จำนวนประชากรกรีกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[2] และมีลำดับเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่พลิกโฉมหน้าอารยธรรมของชาวกรีก ณ ช่วงสิ้นสุด ศ.ที่ 8 ก่อนคริสตกาล จนกลายสภาพไปในลักษณะที่แทบจำไม่ได้หากเปรียบเทียบกับยุคก่อนหน้า[3] นักวิชาการเชื่อว่ายุคอาร์เคอิกของกรีซ เกิดขึ้นจากการปฏิวัติที่สำคัญสองประเภท คือ การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง ประเภทหนึ่ง และ การปฏิวัติทางปัญญา อีกประเภทหนึ่ง[4]

ประวัติศาสตร์กรีซ
Coat of Arms of Greece
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับ
ประเทศกรีซ

กรีซยุคสำริด
อารยธรรมเฮลลาดิค
อารยธรรมซิคละดีส
อารยธรรมไมนอส
อารยธรรมไมซีนี
กรีซโบราณ
กรีซยุคมืด
กรีซยุคอาร์เคอิก
กรีซยุคคลาสสิก
กรีซยุคเฮลเลนิสติก
กรีซยุคโรมัน
กรีซยุคกลาง
กรีซยุคไบแซนไทน์
กรีซยุคฟรังโคคราเชีย
กรีซยุคออตโตมัน
กรีซยุคใหม่
สงครามประกาศเอกราชกรีซ
ราชอาณาจักรกรีซ
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
คณะการปกครอง 4 สิงหาคม
กรีซยุคยึดครองโดยอักษะ
สงครามกลางเมืองกรีซ
กรีซยุคปกครองโดยทหาร ค.ศ. 1967-1974
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ

สถานีย่อยกรีซ

การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง นำไปสู่การสร้างแผนที่ และการกำหนดสถานะทางการเมืองระหว่างกันขึ้นในโลกของชาวกรีก เริ่มมีการก่อตั้งนครรัฐ "โปลิส" (poleis) ที่มีแบบแผนเฉพาะตัวขึ้นมา ในยุคนี้ชาวกรีกได้พัฒนาทฤษฎีการเมือง การเศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การสงคราม และวัฒนธรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว และสิ่งเหล่านี้ปูพื้นฐานไปสู่ยุคทอง หรือยุคคลาสสิคของอารยธรรมกรีก นอกจากนี้ชาวกรีกในยุคอาร์เคอิกยังได้ฟื้นฟูการเขียนที่หายไปในระหว่างยุคมืด โดยมีการพัฒนาตัวอักษรกรีกจนมีลักษณะอย่างที่ใช้กันมาจนปัจจุบัน ทำให้วรรณคดีของกรีซโดยเฉพาะมหากาพย์ของโฮเมอร์ เปลี่ยนจากการถ่ายทอดทางมุขปาถะ (ปากเปล่า) มาเป็นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในด้านศิลปะได้ปรากฏการสร้างเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสีแดง (red-figure pottery) ด้านการทหารได้มีการพัฒนากระบวนทัพแบบฮอปไลต์ขึ้น ซึ่งกลายเป็นแกนหลักและยุทธวิธีหลักของกองทัพกรีก ในนครเอเธนส์สถาบันประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกถูกนำมาใช้ภายใต้การการชี้นำของโซลอน และต่อมาการปฏิรูปของไคลธีนีส (Cleisthenes) ในช่วงปลายยุคนำได้พัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ อันเป็นรูปแบบการปกครองที่สืบต่อเนื่องมาในสมัยคลาสสิค

คำว่า "กรีซยุคอาร์เคอิก" เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่กลายมาเป็นคำมาตรฐานที่ใช้กันตั้งแต่นั้นมา คำดังกล่าวเป็นคำที่มาจากการศึกษาศิลปะกรีกที่หมายถึงลักษณะส่วนใหญ่ของศิลปะการตกแต่งพื้นผิวและประติมากรรม ที่ตกอยู่ระหว่างศิลปะเรขาคณิตกับกรีซคลาสสิก

การศึกษาทางประวัติศาสตร์

แก้

ยุคอาร์เคอิคของกรีซโบราณ เป็นยุคที่ชาวกรีกเพิ่งเริ่มประดิษฐ์อักษรไว้ถ่ายทอดความรู้ทางประวัติศาสตร์ และวรรณคดี และยังไม่ได้สร้างธรรมเนียมการเขียนงานทางประวัติศาสตร์ไว้อย่างเป็นแบบแผน ดังนั้นแม้ในปัจจุบันเราจะทราบถึงความเป็นไปของกรีซในยุคศตวรรษที่ 5 จากงานเขียนของทิวซิดิดีส ได้แก่ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน แต่เราไม่มีหลักฐานลายลักษณ์อักษรแบบนี้ตกทอดมาจากยุคอาร์เคอิกเลย บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่สมัยนั้นตกทอดมาถึงเราจำนวนไม่มาก และส่วนใหญ่ก็ในรูปของบทกวี (ที่หลงเหลือมาไม่ครบ) และจารึกบนแผ่นโลหะหรือแผ่นศิลาประดับหลุมศพ[5] อย่างไรก็ดีในปัจจุบันการโบราณคดีได้ก้าวหน้าขึ้นมาก และนักโบราณคดีได้สามารถปะติดปะต่อภาพที่ขาดหายไปได้ในโลกของกรีซโบราณ จากข้อมูลโบราณคดีจากทั่วเมดิเตอร์เรเนียน และงานศิลปะที่ชาวโรมันเก็บสะสม หรือลอกเลียนแบบไว้[6]

 
ยิมเนเซียม (กรีซโบราณ) และ พะไลสตรา (โรงเรียนฝึกสอนมวยปล้ำ) ที่เมืองโอลิมเปีย

การเมืองการปกครอง

แก้

กรีซในสมัยอาร์เคอิกได้ทอดทัศนาเห็นการพัฒนาหน่วยจัดตั้งทางการเมืองแบบใหม่ คือ นครรัฐที่เรียกว่า โปลิส เมืองต่าง ๆ ตลอดทั่วทั้งกรีซเริ่มเข้ามาอยู่ใต้อำนาจปกครองของผู้นำอัตตาธิปัตย์แบบผูกขาดอำนาจไว้คนเดียว ซึ่งเรียกว่า "ทรราช" ในระยะนี้ยังมีการพัฒนาระบบกฎหมาย และระบบการวินิจฉัยสั่งการในระดับชุมชน โดยเริ่มมีหลักฐานเป็นประมวลกฎหมาย และโครงสร้างทางรัฐธรรมนูญปรากฏให้เห็น ภายในช่วยปลายยุคอาร์เคอิกทั้งรัฐธรรมนูญของเอเธนส์ และสปาร์ต้า ก็พัฒนาไปสู่รูปแบบที่ใช้กันในสมัยยุคทองหรือยุคคลาสสิค หลักฐานแรกสุดของการเกิดขึ้นของนครรัฐกรีก (โปลิส) พบในนครรัฐครีตสมัยศตวรรษที่แปด ในโลกของมหากาพย์อีเลียดไม่ได้มีการกล่าวถึงโปลิส แต่เป็นโลกที่มีชนชั้นสูง (aristocrat) เป็นผู้นำ ออยคอส (oikos) แปลว่าหมู่บ้าน หรือครัวเรือน แต่ในมหากาพย์โอดิสซีย์เราได้พบเห็นชุมชนที่มีลักษณะคล้ายกับเมืองหรือนครรัฐบ้าง ซึ่งแสดงว่าเริ่มมีปัจจัยของการก่อตั้งหรือขยายชุมชนเมืองเกิดขึ้นแล้ว

การเกิดขึ้นของนครรัฐกรีก

แก้

ในยุคอาร์เคอิคชาวกรีกเริ่มมาอาศัยอยู่กันเป็นเมือง เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง (urbanization) และพัฒนาไปสู่รูปแบบของนครรัฐที่เรียกว่า โปลิส พอถึงสมัยของโซลอน นครรัฐโปลิสก็ได้รับความหมายอย่างที่เข้าใจกันในยุคคลาสสิค[7] โปลิสเริ่มกลายเป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองในบางส่วนของกรีซ ตั้งแต่ราวศตวรรษที่แปด[8] และมีการรับรูปแบบไปใช้ต่อ ๆ กันจนทั่วทั้งกรีซ การขยายชุมชนเมืองในกรีซมีชื่อเรียกว่า ซูนอยคิสมอส (กรีก: συνοικισμóς; อังกฤษ: Synoecism) แปลว่า "การรวมบ้าน/ครัวเรือนเข้าด้วยกัน" อันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่หมู่บ้าน หรือชุมชนย่อย ๆ รวมตัวเข้าจนกลายเป็นชุมชนเมืองที่มีศูนย์กลางเดียวกัน และก่อให้เกิดความต้องการรูปแบบการจัดระเบียบทางการเมืองชนิดใหม่ ทั้งเอเธนส์ และอาร์กอส (Άργος) ผ่านขั้นตอนนี้จนเกิดเป็นนครรัฐขึ้นมาในตอนปลายศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล[9]

ปัจจัยที่ทำให้เกิดนครรัฐขึ้นมีอยู่หลายอย่าง ประการแรกก็คือการขยายตัวของประชากร ซึ่งอาจเป็นผลจากการอพยบย้ายถิ่นของคนหลาย ๆ กลุ่ม เราสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีการระเบิดขึ้นของจำนวนประชากรในราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ก็มีปัจจัยทางศาสนา โดยการเกิดขึ้นของลัทธิความเชื่อหรือพิธีกรรมทางศาสนา มีส่วนสำคัญในการร่วบรวมคนเข้ามาอยู่ด้วยกัน นอกจากนี้ก็มีปัจจัยที่เกิดจากสงคราม โดยบางกรณีการรวมตัวเข้าเป็นเมืองเกิดจากความต้องการการป้องกันจากศัตรูร่วมกัน จึงมีการสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบหลายหมู่บ้าน เช่นในกรณีของเมืองคอรินธ์ (Κόρινθος) ในตอนกลางศควรรษที่เจ็ด[10] นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าการเกิดขึ้นของนครรัฐกรีกจะต้องเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีการวิวัฒนาการยุทธวิธีทางการสงครามที่อาศัยการเข้าปะทะกันของกองทัพขนาดใหญ่ ในมหากาพย์ของโฮเมอร์ ได้แก่อีเลียด เราพบว่ารูปแบบการเข้ารณรงค์ยังนิยมการประลองฝีมือกันระหว่างนักรบชนชั้นสูง แต่ในยุคอาร์เคอิกมีการค้นพบการจัดกระบวนทัพให้ทหารราบติดอาวุธหนักเคลื่อนขบวนทัพเกาะกลุ่มเข้าปะทะกัน การจัดและแปรขบวนทัพแบบฮอปไลต์ต้องอาศัยความสามัคคีและการพึ่งพากัน อาวุธที่ใช้ก็ต้องมีมาตรฐานเดียวกัน (เช่นความยาวของหอก หรือรูปทรง/ขนาดของโล่) นอกจากนี้ก็ยังต้องอาศัยการฝึกหัดอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะมีประชากรจำนวนมากมาอยู่ด้วยกันเป็นเมือง

นครรัฐเอเธนส์

แก้
 
โซลอน, นักปราชญ์ กวี และผู้ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญให้แก่นครรัฐเอเธนส์ ในตอนต้นของศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล

เอเธนส์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและการเมืองในโลกของชาวกรีกมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น[11] แต่เริ่มกลายมาเป็นเมืองที่มีอำนาจโดดเด่นเอาในตอนปลายของศตวรรษที่ 6[12] ในช่วงแรกเอเธนส์ปกครองในระบอบกษัตริย์ หรือบาซิเลวส์ (อังกฤษ: basileus) พอถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 8 คือราวปีที่ 712 ก่อนคริสตกาล การปกครองโดยกษัตริย์ก็ยุติลง เปลี่ยนไปเป็นการปกครองโดยผู้บริหารระดับสูงสุดของเมืองที่เรียกว่า "อาร์คอน"[13] (กรีก: ἄρχων) และมีผู้นำทางการทหารสูงสุดเรียกว่า "ปอเลมาร์ค" (กรีก: πολέμαρχος) แต่ผู้จะดำรงค์ตำแหน่ง อาร์คอน กับ ปอเลมาร์ค ได้จะต้องมาจากหนึ่งในบรรดาตระกูลที่ร่วมก่อตั้งเอเธนส์ หรือที่เรียกรวมกันว่า ยูแพทริได (กรีก: Εὐπατρίδαι; อังกฤษ: Eupatridae)[14] นอกจากอำนาจปกครองแล้ว พวกชนชั้นสูง หรือยูแพทริไดยังผูกขาดการใช้อำนาจทางศาลและการใช้กฎหมายด้วย แต่อำนาจนี้ก็เสื่อมลงไปเมื่อดราโกประกาศใช้ประมวลกฎหมายในปี 621

กฎหมายของเอเธนส์ในยุคแรกเป็นประมวลกฎหมายของดราโก (กรีก: Δράκων) ซึ่งรับมาใช้ในปี 621/0 ก่อนคริสตกาล[15] ปัจจุบันที่เหลือรอดมามีแค่ส่วนของกฎหมายอาญา กฎหมายของดราโกมีเป้าหมายเพื่อก่อตั้งสถาบันกฎหมายเพื่อให้ทุกฝ่ายหันมาพึ่งอำนาจตุลาการของรัฐ และเลิกพึ่งพาการล้างแค้นกันระหว่างตระกูล[16] แต่ไม่ได้มีส่วนแก้ไขความขัดแย้งทางสังคมโดยเฉพาะเรื่องสิทธิในการรับตำแหน่งบริหารระหว่างคนในตระกูลสูงศักดิ์ และพลเมืองชั้นถัด ๆ ลงมา ซึ่งต้องรอการปฏิรูปจากโซลอน[17] ผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็น "อาร์คอนและผู้ไกล่เกลี่ย" ในปี 594/3[18] โซลอนริเริ่มการปฏิรูปกรรมสิทธิที่ดิน และยกเลิกการต้องตกเป็นทาสเพราะการก่อหนี้[19] ทำให้พลเมืองที่เป็นชนชั้นกลางมีอำนาจต่อรองมากขึ้น นอกจากนี้โซลอนยังสร้างรูปแบบการเมืองให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการปกครอง โดยโซลอนเชื่อว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อความเป็นไปของประเทศของตน โซลอนขยายโอกาสในการมีส่วนร่วม โดยยกเลิกข้อกำหนดเรื่องชาติกำเนิดในการรับหน้าที่บริหารปกครอง และหันมาใช้เกณฑ์รายได้ (และจำนวนที่ดินที่ครอบครอง) แทน สำหรับคนฐานะยากจน (เรียกว่าพวก thetes) แม้จะเข้ามารับตำแหน่งบริหารหรือนำทัพไม่ได้ แต่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมในสมัชชาใหญ่ของเมือง (Assembly) และเข้าฟังการพิจารณาคดีได้ โซลอนยังจัดตั้งสภาสี่ร้อยเพื่อรับผิดชอบในการชงเรื่องเข้าสู่สมัชชาใหญ่[20] และใส่ข้อจำกัดอำนาจของอาร์คอนลงไปในรัฐธรรมนูญ โดยเปิดให้พลเมืองสามารถอุทธรณ์คำสั่งอาร์คอนไปยังสมัชชาของเมืองได้[21]

สปาร์ตา

แก้

สปาร์ตาในช่วงศตวรรษที่ ๘[22] และ ๗ ก่อนคริสต์กาลเป็นยุคสมัยของความไร้กฎระเบียบ และความไม่สงบภายใน ซึ่งได้รับการบอกเล่าจากทั้งเฮโรโดตัส และทิวซิดิดีส ทำให้ต้องมีการปฏิรูป ซึ่งตามตำนานแล้วชาวสปาร์ตาเชื่อกันว่าเป็นผลงานของผู้ให้กฎหมายชื่อ ไลเคอร์กัส (Lycurgus) แต่ก็ไม่มีใครบอกได้ว่าจริงๆแล้ว ไลเคอร์กัสมีตัวตนจริงหรือไม่ การปฏิรูปการปกครองของไลเคอร์กัสทำให้สปาร์ตาเกิดความมั่นคงภายใต้ระบอบสองกษัตริย์ และทำให้เริ่มมีการขยายดินแดนด้วยกำลังทหารฯ สงครามกับเมสซีเนียครั้งแรกเกิดขึ้นประมาณปี 740 – 720 ปี ก่อนคริสต์กาล[23] เป็นผลให้สภาผู้เฒ่า "เกรูเซีย" มีอำนาจเหนือสมัชชาเมือง[24] และมีการจับประชากรของเมสซีเนียมาเป็นประชากรกึ่งทาสเรียกว่า เฮล็อต (Helot)[25] ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง สภาเอฟอร์ (Ephor) ซึ่งเป็นสภามีสมาชิกจากการเลือกตั้ง 5 คน ก็ก้าวขึ้นมามีอำนาจควบคู่ไปกับกษัตริย์สองพระองค์ของสปาร์ตา[22] สมาชิกสภาเอฟอร์มีอำนาจถึงขนาดที่ว่าเพลโตเรียกพวกนี้ว่า "ทรราช" ที่กุมชะตาของเมืองไว้เหมือนอย่างพวกเผด็จการ ในขณะที่กษัตริย์สองพระองค์ถูกลดสถานะลงเป็นเหมือนแค่นายพล หลังจากปี 560 ก.คริสต์ เป็นต้นมา สปาร์ตาก็เริ่มสร้างพันธมิตรภาพกับบรรดานครรัฐกรีกต่าง ๆ จนในที่สุดกลายเป็น สันนิบาตเพโลนีเซียน ซึ่งมีเมืองสำคัญอย่างเช่น เอลิส คอรินธ์ และเมการา เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสันนิบาต[26]

การตั้งอาณานิคม

แก้
 
[บริเวณที่ชาวกรีกเข้าตั้งรกรากในช่วงปลายยุคอาร์เคอิก

เศรษฐกิจการค้า

แก้

การเกษตรกรรม

แก้

ในยุคอาร์เคอิกการเกษตรกรรมยังไม่กระจายกว้าง หรืออยู่ออกห่างจากตัวเมืองไปมากนัก ฟาร์มยังมีขนาดเล็ก และอยู่กระจุกรวมกันใกล้พื้นที่อยู่อาศัยของเมือง อย่างไรก็ดีการเพาะปลูกมีความหลากหลายมาก

ศิลปะ

แก้

วรรณคดี

แก้

การทหาร

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Shapiro 2007, pp. 1–2
  2. Snodgrass 1980, p. 19
  3. Shapiro 2007, p. 2
  4. Snodgrass 1980, p. 13
  5. Shapiro 2007, p. 5
  6. Shapiro 2007, p. 6
  7. Hall 2007, p. 41
  8. Hall 2007, p. 43
  9. Hall 2007, p. 43
  10. Hall 2007, p. 43
  11. Shapiro 2007, p. 6
  12. Boardman & Hammond 1982, p. xv
  13. Andrewes 1982, pp. 364–5
  14. Andrewes 1982, p. 368
  15. Cantarella 2005, p. 239
  16. Cantarella 2005, p. 239
  17. Andrewes 1982, p. 371
  18. Andrewes 1982, p. 377
  19. Andrewes 1982, p. 382
  20. Andrewes 1982, p. 365
  21. Andrewes 1982, pp. 388–9
  22. 22.0 22.1 Hammond 1982b, p. 329
  23. Hammond 1982b, p. 323
  24. Hammond 1982b, pp. 329–330
  25. Hammond 1982b, p. 328
  26. Hammond 1982b, p. 356

บรรณานุกรม

แก้
  • Anderson, Greg (2005). "Before Turannoi Were Tyrants: Rethinking a Chapter of Early Greek History". Classical Antiquity. 24 (2): 173–222. doi:10.1525/ca.2005.24.2.173.
  • Andrewes, A. (1982). "The Growth of the Athenian State". ใน Boardman, John; Hammond, N.G.L. (บ.ก.). The Cambridge Ancient History. Vol. III.iii (2 ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
  • Antonaccio, Carla M. (2007). "Colonization: Greece on the Move 900–480". ใน Shapiro, H.A. (บ.ก.). The Cambridge Companion to Archaic Greece. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Boardman, John (1982). "The Material Culture of Archaic Greece". ใน Boardman, John; Hammond, N.G.L. (บ.ก.). The Cambridge Ancient History. Vol. III.iii (2 ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
  • Boardman, John; Hammond, N.G.L. (1982). "Preface". ใน Boardman, John; Hammond, N.G.L (บ.ก.). The Cambridge Ancient History. Vol. III.iii (2 ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
  • Cantarella, Eva (2005). "Gender, Sexuality, and Law". ใน Gagarin, Michael; Cohen, David (บ.ก.). The Cambridge Companion to Ancient Greek Law. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Cook, R.M. (1979). "Archaic Greek Trade: Three Conjectures". The Journal of Hellenic Studies. 99: 152–155. doi:10.2307/630641. JSTOR 630641. S2CID 161378605.
  • Davies, John K. (2009). "The Historiography of Archaic Greece". ใน Raaflaub, Kurt A.; van Wees, Hans (บ.ก.). A Companion to Archaic Greece. Blackwell Publishing. pp. 3–21. ISBN 9781118451380.
  • Drews, Robert (1972). "The First Tyrants in Greece". Historia: Zeitschrift für Alte Geschichte. 21 (2).
  • Fischer-Bossert, Wolfgang (2012). "The Coinage of Sicily". ใน Metcalf, William E. (บ.ก.). The Oxford Handbook of Greek and Roman Coinage. Oxford University Press. pp. 142–156. ISBN 9780195305746.
  • Grant, Michael (1988). The Rise of the Greeks. New York: Charles Scribner's Sons.
  • Hall, Jonathan M. (2007). "Polis, Community, and Ethnic Identity". ใน Shapiro, H.A. (บ.ก.). The Cambridge Companion to Archaic Greece. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Hammond, N.G.L (1982a). "Laconia". ใน Boardman, John; Edwards, I.E.S.; Hammond, N.G.L; Solleberger, E. (บ.ก.). The Cambridge Ancient History. Vol. III.i (2 ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
  • Hammond, N.G.L (1982b). "The Peloponnese". ใน Boardman, John; Hammond, N.G.L (บ.ก.). The Cambridge Ancient History. Vol. III.iii (2 ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
  • Hunt, Peter (2007). "Military Forces". ใน Sabin, Philip; van Wees, Hans; Whitby, Michael (บ.ก.). The Cambridge History of Greek and Roman Warfare. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Hurwit, Jeffrey M. (2007). "The Human Figure in Early Greek Sculpture and Vase Painting". ใน Shapiro, H.A. (บ.ก.). The Cambridge Companion to Archaic Greece. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Jeffery, L.H. (1982). "Greek Alphabetic Writing". ใน Boardman, John; Edwards, I.E.S.; Hammond, N.G.L.; Sollberger, E. (บ.ก.). The Cambridge Ancient History. Vol. III.i (2 ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
  • Kamen, Deborah (2007). "The Life Cycle in Archaic Greece". ใน Shapiro, H.A. (บ.ก.). The Cambridge Companion to Archaic Greece. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Kirk, G.S. (1985). "Homer". ใน Easterling, P.E.; Knox, Bernard M.W. (บ.ก.). The Cambridge History of Classical Literature. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Konuk, Koray (2012). "Asia Minor to the Ionian Revolt". ใน Metcalf, William E. (บ.ก.). The Oxford Handbook of Greek and Roman Coinage. Oxford University Press. pp. 43–60. ISBN 9780195305746.
  • Kurke, Leslie V. (2007). "Archaic Greek Poetry". ใน Shapiro, H.A. (บ.ก.). The Cambridge Companion to Archaic Greece. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Kroll, John E. (2012). "The Monetary Background of Early Coinage". ใน Metcalf, William E. (บ.ก.). The Oxford Handbook of Greek and Roman Coinage. Oxford University Press. pp. 33–42. ISBN 9780195305746.
  • Markoe, Glenn (1996). "The Emergence of Orientalizing in Greek Art: Some Observations on the Interchange between Greeks and Phoenicians in the 8th and 7th Centuries B.C.". Bulletin of the American Schools of Oriental Research. 301 (301): 47–67. doi:10.2307/1357295. JSTOR 1357295. S2CID 163876380.
  • Martin, T. R. (1986). Sovereignty and Coinage in Classical Greece. Princeton University Press. ISBN 978-0691035802.
  • Martin, T. R. (1996). "Why Did the Greek "Polis" Originally Need Coins?". Historia: Zeitschrift für Alte Geschichte. 45 (3): 257–283.
  • Morris, Ian (2009). "The Eighth Century Revolution". ใน Raaflaub, Kurt A.; van Wees, Hans (บ.ก.). A Companion to Archaic Greece. Blackwell Publishing. pp. 64–80. ISBN 9781118451380.
  • Nightingale, Andrea Wilson (2007). "The Philosophers in Ancient Greek Culture". ใน Shapiro, H.A. (บ.ก.). The Cambridge Companion to Archaic Greece. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Osborne, Robin (1998). Archaic and Classical Greek Art. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780192842022.
  • Osborne, Robin (2009). Greece in the Making: 1200–479 BC (2 ed.). London: Routledge. ISBN 9780203880173.
  • Parker, Victor (1998). "Τυραννος. The Semantics of a Political Concept from Archilochus to Aristotle". Hermes. 126 (2).
  • Power, Timothy (2016). "Literature in the Archaic Age". ใน Hose, Martin; Schenker, David (บ.ก.). A Companion to Greek Literature. John Wiley & Sons.
  • Psoma, Selene (2012). "Greece and the Balkans to 360 B.C.". ใน Metcalf, William E. (บ.ก.). The Oxford Handbook of Greek and Roman Coinage. Oxford University Press. pp. 157–172. ISBN 9780195305746.
  • Raaflaub, Kurt (2009). "Intellectual Achievements". ใน Raaflaub, Kurt A.; van Wees, Hans (บ.ก.). A Companion to Archaic Greece. Blackwell Publishing. pp. 3–21. ISBN 9781118451380.
  • Rutter, N.K. (2012). "The Coinage of Italy". ใน Metcalf, William E. (บ.ก.). The Oxford Handbook of Greek and Roman Coinage. Oxford University Press. pp. 128–140. ISBN 9780195305746.
  • Shapiro, H.A. (2007). "Introduction". ใน Shapiro, H.A. (บ.ก.). The Cambridge Companion to Archaic Greece. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Sheedy, Kenneth (2012). "Aegina, the Cyclades, and Crete". ใน Metcalf, William E. (บ.ก.). The Oxford Handbook of Greek and Roman Coinage. Oxford University Press. pp. 105–127. ISBN 9780195305746.
  • Snodgrass, Anthony (1965). "The Hoplite Reform and History". The Journal of Hellenic Studies. 85: 110–122. doi:10.2307/628813. JSTOR 628813. S2CID 163273750.
  • Snodgrass, Anthony (1980). Archaic Greece: The Age of Experiment. London Melbourne Toronto: J M Dent & Sons Ltd. ISBN 978-0-460-04338-0.
  • Spier, J. (1990). "Emblems in Archaic Greece". Bulletin of the Institute of Classical Studies. 37: 107–130. doi:10.1111/j.2041-5370.1990.tb00222.x.
  • Van Alfen, Peter G. (2012). "The Coinage of Athens, Sixth to First Century B.C.". ใน Metcalf, William E. (บ.ก.). The Oxford Handbook of Greek and Roman Coinage. Oxford University Press. pp. 88–104. ISBN 9780195305746.
  • van Wees, Hans. (2009). "The Economy". ใน Raaflaub, Kurt A.; van Wees, Hans (บ.ก.). A Companion to Archaic Greece. Blackwell Publishing. pp. 444–467. ISBN 9781118451380.
  • Winnington-Ingram, R.P. (1985). "The Origins of Tragedy". ใน Easterling, P.E.; Knox, Bernard M.W. (บ.ก.). The Cambridge History of Classical Literature. Cambridge: Cambridge University Press.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กรีซยุคอาร์เคอิก