กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (อังกฤษ: Shuttle Orbiter Challenger) รหัสประจำยานคือ OV-099 เป็นกระสวยอวกาศลำที่สองที่ใช้ปฏิบัติภารกิจในอวกาศขององค์การนาซ่า สร้างถัดจากกระสวยอวกาศโคลัมเบีย เริ่มปล่อยสู่อวกาศครั้งแรก(ภารกิจที่ STS-6) ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) และปฏิบัติภารกิจมาแล้วถึง 9 ครั้งก่อนที่จะมาประสบอุบัติเหตุกระสวยอวกาศระเบิด(ในภารกิจที่ STS-51-L) ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) หลังจากที่ปล่อยกระสวยสู่ท้องฟ้าได้ 73 วินาที ทำให้ลูกเรือทั้ง 7 คนในยานเสียชีวิตทั้งหมด หลังจากที่อุบัติเหตุครั้งนี้ ทาง NASA จึงได้สร้างกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Space Shuttle Endeavour) ขึ้นมาปฏิบัติภารกิจแทนยานชาเลนเจอร์ ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)
Challenger | |
---|---|
กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ | |
รหัส | OV--099 |
ประเทศ | นาซ่า สหรัฐอเมริกา |
วันทำสัญญา | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 |
ตั้งชื่อตาม | เรือ HMS Challenger |
สถานะ | ถูกทำลาย 28 มกราคม พ.ศ. 2529 |
บินครั้งแรก | STS-6 4 เมษายน พ.ศ. 2526 |
บินครั้งสุดท้าย | STS-51-L 28 มกราคม พ.ศ. 2529 |
สถิติภารกิจ | 10 ภารกิจ |
สถิติวันที่บิน | 62.41 วัน |
สถิติโคจร | 995 รอบ |
ระดับโคจร | 25,803,939 ไมล์ |
เทียบดาวเทียม | 10 ครั้ง |
เทียบสถานีอวกาศ | ไม่มีการเทียบท่ากับสถานีอวกาศใด ๆ |
ยานชาเลนเจอร์ได้รับเลือกให้ปฏิบัติภารกิจทั้งหมด 10 ครั้ง มีลูกเรือเดินทางกับยานแล้ว 60 คน รวมเวลาอยู่ในอวกาศเป็นเวลา 62.41 วัน มีระยะการเดินทางรวม 25,803,939 ไมล์ หรือ 41,527,416 กิโลเมตร
# | วันที่ | เที่ยวบิน | ที่ลงจอด | หมายเหตุ | ระยะเวลา |
---|---|---|---|---|---|
1 | 4 เมษายน พ.ศ. 2526 | STS-6 | ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด | ปล่อยดาวเทียม TDRS-1 ครั้งแรกในภารกิจกระสวยอวกาศที่มีการ spacewalk (EVA) เที่ยวบินแรกของกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ |
5 วัน 0 ชั่วโมง 23 นาที 42 วินาที |
2 | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2526 | STS-7 | ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด | Sally Ride เป็นหญิงอเมริกันคนแรกที่ได้ไปอวกาศ ปล่อยดาวเทียมการสื่อสาร 2 ดวง |
6 วัน 2 ชั่วโมง 23 นาที 59 วินาที |
3 | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2526 | STS-8 | ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด | Guion Bluford เป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน คนแรกที่ได้ไปอวกาศ ครั้งแรกของการปล่อยและลงจอดกระสวยในตอนกลางคืน ปล่อยดาวเทียม Insat-1B NASA พิมพ์แสตมป์ที่ระลึก 260,000 ดวง ฉลองครบรอบ 25 ปี |
6 วัน 1 ชั่วโมง 8 นาที 43 วินาที |
4 | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 | STS-41-B | ศูนย์อวกาศเคนเนดี | ปล่อยดาวเทียมการสื่อสาร 2 ดวง (ไม่สำเร็จ) | 7 วัน 23 ชั่วโมง 15 นาที 55 วินาที |
5 | 6 เมษายน พ.ศ. 2527 | STS-41-C | ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด | ภารกิจช่วยเสริม Solar Maximum Mission | 6 วัน 23 ชั่วโมง 40 นาที 7 วินาที |
6 | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2527 | STS-41-G | ศูนย์อวกาศเคนเนดี | ภารกิจแรกที่นำผู้หญิงไปอวกาศ 2 คน Marc Garneau เป็นชาวคะเนเดียนคนแรกที่ไปอวกาศ Kathryn D. Sullivan เป็นหญิงอเมริกันคนแรกที่ได้ปฏิบัติการ spacewalk (EVA) ปล่อยดาวเทียม Earth Radiation Budget |
8 วัน 5 ชั่วโมง 23 นาที 33 วินาที |
7 | 29 เมษายน พ.ศ. 2528 | STS-51-B | ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด | บรรทุก Spacelab-3 | 7 วัน 0 ชั่วโมง 8 นาที 46 วินาที |
8 | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 | STS-51-F | ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด | บรรทุก Spacelab-2 | 7 วัน 22 ชั่วโมง 45 นาที 26 วินาที |
9 | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2528 | STS-61-A | ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด | บรรทุก Spacelab D-1 ของเยอรมัน | 7 วัน 0 ชั่วโมง 44 นาที 54 วินาที |
10 | 28 มกราคม พ.ศ. 2529 | STS-51-L | ไม่ได้ลง (กำหนดลงที่ ศูนย์อวกาศเคนเนดี) | กระสวยระเบิดหลังปล่อย ลูกเรือเสียชีวิต 7 คน | 0 วัน 0 ชั่วโมง 1 นาที 13 วินาที |
เครื่องหมายภารกิจ
แก้เครื่องหมายภารกิจสำหรับเที่ยวบินของชาเลนเจอร์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
การสูญเสียกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์
แก้ในภารกิจครั้งที่ 10 (เที่ยวบินที่ STS-51-L) ของยานชาเลนเจอร์ ซึ่งเป็นวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529 หลังจากปล่อยยานขึ้นไปเพียงนาทีเศษ ยานชาเลนเจอร์ได้ประสบอุบัติเหตุจากการระเบิด เนื่องจากยางรูปวงแหวนที่ใช้ปิดกั้นแก๊สระหว่างรอยต่อในจรวดบูสเตอร์(Solid Rocket Booster : SRB)ตัวขวาได้มีการเสียหายมาจากการยิงจรวดมาในภารกิจก่อนหน้านั้นหลายครั้งมาแล้ว และยังมีอีกปัจจัยนึงคือในวันที่ปล่อยกระสวยครั้งนี้ สภาพอากาศที่เย็นจัดได้ก่อให้เกิดน้ำแข็งเกาะตามฐานปล่อยจรวดและยาน รวมทั้งจรวดบูสเตอร์ด้วย ทำให้ยางไม่ยืดหยุ่น เมื่อได้ปล่อยยาน แก็สความร้อนสูงได้รั่วออกมาและรวมตัวกับเปลวไฟที่ไอพ่นของบูสเตอร์ จึงทำให้เกิดไฟลุกไหม้จรวด และเมื่อถังเชื้อเพลิงสีส้ม(Fule Tank : ET)ได้ถูกความร้อนจากจรวดตัวขวา ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นเป็นลูกไฟขนาดยักษ์บนฟ้า ยานได้แตกเป็นส่วน ๆ จนตกสู่ทะเล ซึ่งในขณะที่ยานระเบิดนั้น ลูกเรือในยานยังไม่เสียชีวิตจนกระทั่งห้องโดยสารตกสู่ทะเล