กระจง
กระจง | |
---|---|
กระจงชวา (T. javanicus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
วงศ์: | Tragulidae |
สกุล: | Tragulus Brisson, 1762 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
กระจง หรือ ไก้[2] (อังกฤษ: Mouse-deer, Chevrotain[3]) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเคี้ยวเอื้องขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Tragulus (/ทรา-กู-ลัส/) ในวงศ์ Tragulidae
โดยคำว่า Tragulus มาจากคำว่า Tragos หมายถึง "แพะ" ในภาษากรีก ขณะที่ ulus ในภาษาละตินหมายถึง "เล็ก" มีน้ำหนักตัวประมาณ 0.7–8.0 กิโลกรัม (1.5–17.6 ปอนด์) มีความยาวประมาณ 40–75 เซนติเมตร (16–30 นิ้ว) จัดเป็นสัตว์กีบคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่กระจงชนิดที่ใหญ่ที่สุดก็มีขนาดใหญ่กว่าแอนทีโลปในสกุล Neotragus บางสายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา[4]
กระจง มีรูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขาและไม่มีต่อมน้ำตา พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, จีนตอนใต้ (ตอนใต้ของมณฑลยูนนาน), ตอนใต้ของเกาะปาลาวันในฟิลิปปินส์ ตัวผู้มีลักษณะเด่น คือ มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาหนึ่งคู่ ใช้ในการต่อสู้[4] ซึ่งในประเทศไทยมีผู้นำมาทำเป็นเครื่องราง[3] เป็นสัตว์ที่หากินและอยู่ตามลำพังตัวเดียวในพงป่าทึบ หากินในเวลากลางคืน กินพืช เช่น ผลไม้, ลูกไม้, เมล็ดพืช, หญ้า และผักต่าง ๆ เป็นอาหาร [4]
กระจง เป็นสัตว์ที่มีกีบเท้าคมมาก หากมีผู้อุ้มหรือจับโดยไม่ระวังตัวอาจถูกถีบเป็นแผลเหวอะได้[5] ในนิทานพื้นบ้านของแหลมมลายู กระจงถูกเรียกว่า "กันจิล" มักถูกให้ภาพของความเป็นสัตว์เจ้าเล่ห์ฉลาดแกมโกง เอาเปรียบผู้อื่น กันจิลในภาษามลายูยังมีความหมายถึงผู้ที่มีนิสัยดังกล่าวอีกด้วย[6]
การจำแนก
แก้เดิมทีแบ่งออกได้เป็นเพียง 2 ชนิด แต่ในปี ค.ศ. 2004 ได้แบ่งแยกออกเป็น 6 ชนิด ในปัจจุบัน[7]
- กระจงชวา (Tragulus javanicus)
- กระจงเล็ก (Tragulus kanchil) – เป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย
- กระจงใหญ่ (Tragulus napu) – เป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย[3]
- กระจงฟิลิปปินส์ (Tragulus nigricans)
- กระจงเวียดนาม (Tragulus versicolor)
- กระจงวิลเลียมสัน (Tragulus williamsoni)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Tragulus Brisson, 1762". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
- ↑ "กระจง-ไก้ Lesser mouse-deer". ยูทิวบ์. 2 April 2012. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "กระจง". dictionary.sanook.com. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Nowak, R. M. (eds) (1999). Walker's Mammals of the World. 6th edition. Johns Hopkins University Press.
- ↑ สุเทพ เทือกสุบรรณ. The Power of Change - กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ. กรุงเทพฯ : ลิปส์ พับลิชชิ่ง, 2557. 247 หน้า. หน้า 130. ISBN 978-616-7645-07-0
- ↑ ""มูสัง" คือ "อีเห็น"". ศิลปวัฒนธรรม. 2016-07-13.
- ↑ Meijaard, I., and C. P. Groves (2004). A taxonomic revision of the Tragulus mouse-deer. Zoological Journal of the Linnean Society 140: 63-102.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tragulus ที่วิกิสปีชีส์