กรวัฒน์ เจียรวนนท์

กรวัฒน์ เจียรวนนท์ (ชื่อเล่น: ภู[1]) เป็นนักธุรกิจชาวไทย ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของอะมิตี้ โซลูชั่นส์ ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย บริษัทมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร[2]

กรวัฒน์ เจียรวนนท์
การศึกษาโรงเรียนลอว์เรนซ์วิลล์
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
อาชีพผู้ประกอบการธุรกิจทางอินเทอร์เน็ต
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งอะมิตี้ โซลูชั่นส์ (ชื่อเดิม: เอโค่ คอมมิวนิเคชั่นส์)
ตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บจก. อะมิตี้ โซลูชั่นส์ คอร์ปอเรชั่น
คู่สมรสแอนนา คาลิเนนโควา (สมรส พ.ศ. 2566)
ญาติศุภชัย เจียรวนนท์ (บิดา)
บุษดี เจียรวนนท์ (มารดา)
ธนินท์ เจียรวนนท์ (ปู่)
ครอบครัวตระกูลเจียรวนนท์

ประวัติ

แก้

กรวัฒน์เป็นบุตรชายของ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กับบุษดี (สกุลเดิม: มหพันธ์) เขายังมีน้องอีกสองคนคือกมลนันท์กับแซนเดอร์[1][3] กรวัฒน์ยังเป็นหลานปู่ของธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์และดำรงตำแหน่งประธานอาวุโสของบริษัทดังกล่าวในปัจจุบัน เขาศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนลอว์เรนซ์วิลล์ และระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยสถาบันหลังนี้เขาศึกษาในวิชาเอกประวัติศาสตร์เป็นเวลาสองปี ก่อนที่จะลาออกจากมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว[4]

อะมิตี้ โซลูชั่นส์

แก้

ในปี พ.ศ. 2555 กรวัฒน์ในเวลานั้นที่มีอายุ 15 ปี ได้ก่อตั้งเอโค่คอมมิวนิเคชั่นส์ ซึ่งเป็นแอปแชทบนมือถือ[5] เขาหยุดเรียนที่โรงเรียนประจำเป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อพัฒนาแอปนี้[2][6] หลังจากใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ และต้องการมุ่งเน้นไปที่กิจการนี้ กรวัฒน์จึงตกลงกับครอบครัวว่าหากเขาระดมทุนให้บริษัทนี้ได้อย่างน้อย 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะลาออกจากมหาวิทยาลัย ซึ่งเขาสามารถทำได้หลังจากระดมทุนรอบเริ่มต้นจากไทเกอร์แล็ปส์เวนเจอส์ ตามมาด้วยการระดมทุนซีรีส์ เอ ผ่านนักลงทุน เช่น 500 สตาร์ตอัพส์, โกบิเวนเจอส์ และ อิโตชูในปี พ.ศ. 2558[6][7][8] และระดมทุนซีรีส์ บี ได้ 28.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2562 โดยเงินส่วนใหญ่จำนวน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจากซินามาสดิจิทัลเวนเจอส์ ตามด้วยกองทุนการลงทุนดิจิทัลของแอร์เอเชีย และอีวีโกรวธ์[9]

กรวัฒน์กล่าวว่าตลาดการทำงานร่วมกันขององค์กร "เปิดกว้างมากในขณะนี้" เมื่อหารือกับคู่แข่งหลายราย เช่น สแลก, ไมโครซอฟท์ และเฟซบุ๊ก[6]

ลูกค้าที่มีชื่อเสียงของบริษัท เช่น ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารธนชาต, บีอีซี-เทโร, ทรู คอร์ปอเรชั่น, ซีพี ออลล์, นกแอร์, ปตท. และเทเลคอมมาเลเซีย ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอยู่ประมาณห้าล้านคนทั่วเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ[6][10]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เอโค่ได้เข้าซื้อคอนโวแล็ปซึ่งเป็นบริษัทแชทบอทด้านเอไอ และก่อตั้งบริษัทแม่แห่งใหม่โดยเปลี่ยนชื่อจากเอโค่เป็นอะมิตี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายกิจการ[11][12] สี่ปีต่อมาบริษัทระดมทุนในซีรีส์ ซี ได้ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเข้าซื้อกิจการโทลล์ริง บริษัทผู้ให้บริการวิเคราะห์การโทรศัพท์ในสหราชอาณาจักร อีกทั้งยังมุ่งหมายที่จะสร้างรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง[13] และวางแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2568[10]

เกียรติประวัติ

แก้

ในปี พ.ศ. 2559 กรวัฒน์ได้รับการจัดให้อยู่ในรายชื่อ "Forbes 30 Under 30 Asia" หรือชาวเอเชียอายุต่ำกว่า 30 ปี ที่ได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ ในหมวดผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี[14]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

กรวัฒน์สมรสกับแอนนา คาลิเนนโควา ซึ่งทั้งสองพบกันครั้งแรกที่ประเทศรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2562 ก่อนจะคบหาดูใจและตกลงใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน โดยมีพิธีฉลองสมรสพระราชทานเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ทั้งนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานในงานดังกล่าว[15]

กรวัฒน์เคยให้สัมภาษณ์ว่าแม้เขาจะเป็นทายาทรุ่นที่สามของเครือเจริญโภคภัณฑ์ แต่ทางครอบครัวมีนโยบายชัดเจนแต่แรกว่าลูกหลานรุ่นต่อไปจะต้องสร้างธุรกิจของตัวเอง ทำให้มีแรงผลักดันที่จะต้องมีธุรกิจของตัวเองให้ได้ โดยมีบิดาคอยผลักดันให้ออกไปหาเงินและหานักลงทุนด้วยตนเอง[16]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ลูกชาย "ศุภชัย เจียรวนนท์" เตรียมสละโสดกับสาวรัสเซีย 30 มี.ค.นี้". posttoday. 2023-03-01.
  2. 2.0 2.1 Nam, Suzy. "Thailand Billionaire Heir's Tech Startup Closes $20M Fundraising Led By Indonesia's 2nd Wealthiest Family". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  3. Weerachokesathit, Tamonwan (2022-11-18). "งานใหญ่! คนดังร่วมยินดีเพียบ สมรสพระราชทาน 'กมลนันท์ เจียรวนนท์ – ชานันท์ โสภณพนิช'". HELLO! Magazine Thailand.
  4. Srisamorn, Phoosuphanusorn (26 October 2015). "Welcome to the real world". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  5. "สัมภาษณ์พิเศษ "กรวัฒน์ เจียรวนนท์" CEO แห่ง Eko กับก้าวต่อไปหลังจากได้ Series A". Techsauce.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Koyanagi, Ken (19 July 2019). "Thai tycoon's grandson takes on Slack and Facebook in work chat". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  7. Ono, Yukako. "Itochu invests in Eko, brainchild of CP Group heir". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  8. Phoosuphanusorn, Srisamorn (28 August 2015). "Office chat app developer Eko gets $5.7m funding". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  9. Ellis, Jack (27 November 2018). "Workplace app Eko nets $20m funding from SMDV, AirAsia, and others". www.techinasia.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  10. 10.0 10.1 Pattarat (2024-07-17). "เทคสตาร์ทอัพ "Amity" ฝีมือทายาทตระกูล "เจียรวนนท์" ระดมเงินลงทุนเพิ่มได้อีก 60 ล้านเหรียญ". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  11. Yu, Doris (30 June 2020). "Thai billionaire heir's Eko announces acquisition, new parent firm". www.techinasia.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  12. Setboonsarng, Chayut (2020-06-30). "Thai billionaire heir's startup Amity flourishes amid pandemic". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  13. “กรวัฒน์ เจียรวนนท์” สยายปีก “Amity Solutions” สู่ AI Champion
  14. "Korawad Chearavanont". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  15. "จากรักแรกพบ กรวัฒน์ เจียรวนนท์-แอนนา คาลิเนนโควา กับงานวิวาห์สุดหวาน". www.thairath.co.th. 2023-03-31.
  16. "เปิดใจ "กรวัฒน์ เจียรวนนท์" ทายาทซีพีรุ่นที่ 3 ไม่ใช่ใบเบิกทางสู่ความสำเร็จ". www.thairath.co.th. 2023-03-09.