กรรณิกา ธรรมเกษร
กรรณิกา ธรรมเกษร ชื่อเล่น แอ้ (11 สิงหาคม พ.ศ. 2490 - ) เป็นผู้ประกาศข่าว นักแสดง และพิธีกรรายการโทรทัศน์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
กรรณิกา ธรรมเกษร | |
---|---|
ชื่อเกิด | กรรณิกา ธรรมเกษร |
เกิด | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2490 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
อาชีพ | ผู้ประกาศข่าว พิธีกร นักแสดง นักการเมือง นักพูด |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2512 - ปัจจุบัน |
โทรทัศน์ทองคำ | พ.ศ. 2530 - ผู้ดำเนินรายการดีเด่นหญิง (รายการ ทีวีวาที) [1] พ.ศ. 2556 -รางวัลเกียรติยศคนทีวี |
ประวัติ
แก้กรรณิกา ธรรมเกษร เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายประภาส และนางดาวรุ่ง คุณพ่อและคุณแม่รับราชการ จบการศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชาลัย, โรงเรียนเทเวศร์วิทยาลัย และ แผนกวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรรณิกาสมรสกับอดีตสามีซึ่งเป็นนักบินพาณิชย์ มีบุตร 2 คน หนึ่งในนั้นคือกัปตัน นายแพทย์กรพรหม แสงอร่าม ภายหลังประกอบพิธีหมั้นกับชาวเยอรมนี แต่ปัจจุบันแยกทางกันแล้ว[2]
การทำงาน
แก้กรรณิกาหัดเรียนรำไทยที่ช่อง 4 บางขุนพรหม ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ กับครูสัมพันธ์ พันธุ์มณี ก่อนจะได้รำออกทีวี เมื่ออายุ 12 ปี
ต่อมาเริ่มงานเป็นผู้ประกาศสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ขณะยังเป็นนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นมาเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ และผู้ประกาศข่าวไทยทีวีสีช่อง 3 ตั้งแต่เริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2513 ต่อเนื่องมานานหลายปี[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งเล่นละครโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 และเป็นนักโต้วาที ก่อนจะมาร่วมงานกับ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ที่บริษัท แปซิฟิก อินเตอร์คอมมิวนิเคชัน จำกัด และเป็นผู้ประกาศข่าวทางไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เมื่อ พ.ศ. 2530 ในช่วงที่ ดร.สมเกียรติ ปรับรูปแบบการนำเสนอข่าวในรูปแบบใหม่ และเป็นผู้จัดรายการโต้วาทีในนามบริษัท ภาษร โปรดักชั่น จำกัดทางโทรทัศน์ชื่อทีวีวาที ทางช่อง 9 โดยสร้างนักพูดที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น เสนาลิง, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นต้น
กรรณิกามีเอกลักษณ์ในการอ่านข่าวทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.คือเมื่อกล่าวจบการรายงานข่าว เธอจะแสดงภาษามือสำหรับผู้พิการทางหู ซึ่งทำให้ได้รับรางวัล “เพื่อคนพิการ” จากสมาคมโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2532
งานการเมือง
แก้กรรณิกาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในนามพรรคไทยรักไทย ในพื้นที่เขต 4 พญาไท เมื่อ พ.ศ. 2544 และได้รับการเลือกตั้ง แต่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งเพิกถอนในภายหลัง และลาออกจากพรรคไทยรักไทย เมื่อ พ.ศ. 2548 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งอีก
ผลงานละคร
แก้- แม่หญิง (2511)
- ฝันร้าย (2512)
- ริมฝั่งแม่ระมิงค์ (2512) ช่อง 4
- อีสา (2517) ช่อง 4 รับบท ม.ร.ว.โสภาพรรณวดี
- ผู้ชนะสิบทิศ (2519) ช่อง 9 รับบท อเทตยา
- นานา(โรค)จิตตัง (2520) ช่อง 3
- ดรรชนีนาง (2520) ช่อง 9 รับบท ดรรชนี
- พล นิกร กิมหงวน (2520) ช่อง 9 รับบทประไพ
- ทัดดาวบุษยา (2520) ช่อง 9 รับบท ทัดดาวบุษยา
- ศิวาราตรี (2520) ช่อง 9 รับบท ดุสิตา
- เธอจ๋ารักฉันไหม (2521) ช่อง 3
- คุ้มผาคำ (2521) ช่อง 9 รับบท เมทินี กรวิก
- ลูกทาส (2522) ช่อง 3 รับบท บุญเจิม
- อิเหนา (2523) ช่อง 3
- จิตไม่ว่าง (2524) ช่อง 3
ภาพยนตร์
แก้- ขวัญเรียม (2544) รับบท คุณนายทองคำ
ผลงานพิธีกร
แก้- พิธีกรรายการแม่บ้านที่รัก ทางไทยทีวีสีช่อง 3 (2522 - 2530)
- พิธีกรรายการทีวีวาที ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (2526 - 2543)
- พิธีกรรายการกฎแห่งกรรม ทาง ททบ.5
- พิธีกรรายการโต้คารมมัธยมศึกษา ทางไทยทีวีสีช่อง 3
- พิธีกรรายการสภากาแฟ
- ผลิตรายการ ซูเปอร์จิ๋ว ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ปัจจุบัน ผลิตโดย บริษัท ซูเปอร์จิ๋วจำกัด
- พืธีกรรายการ กรรณิกาเซย์ เสน่ห์ทอล์ค ร่วมกับ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ์ ทางช่อง เอ็มวีทีวี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[3]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ [ย้อนอดีต] ผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 1 ถึง 4
- ↑ "ไทยโพสต์ 22 สิงหาคม 2551". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- กรรณิกา ธรรมเกษร, เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ. จะมืดกี่ด้านก็ผ่านได้. กรุงเทพฯ : ณ เพชรสำนักพิมพ์, 2551. 228 หน้า. ISBN 978-9741-645-12-1