กนก ลิ้มตระกูล (เกิด 22 กันยายน พ.ศ. 2499) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ 6 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

กนก ลิ้มตระกูล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ
จาก อุตรดิตถ์ เขต 1
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม 2550 – 20 มีนาคม 2566
ก่อนหน้ากฤษณา สีหลักษณ์
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน 2535 – 9 พฤศจิกายน 2543
ก่อนหน้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ ชุดที่ 17
ถัดไปกฤษณา สีหลักษณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 กันยายน พ.ศ. 2499 (68 ปี)
อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติพัฒนา (2535–2547)
ไทยรักไทย (2547–2549)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

กนก ลิ้มตระกูล เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายประมวล และนางกาหลง ลิ้มตระกูล มีน้อง 2 คน สำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ และรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปัจจุบันมีสถานะโสด

งานการเมือง

แก้

กนก เริ่มเข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอุตรดิตถ์ 3 สมัย ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งติดต่อกันมาอีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ต่อมา พ.ศ. 2544 ลงสมัครในนามพรรคชาติพัฒนา พ่ายให้กับนางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ จากพรรคไทยรักไทย

พ.ศ. 2550 กนกลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้ง โดยมีคะแนนเป็นอันดับ 3 ของเขต (มี ส.ส. ได้ 3 คน)

พ.ศ. 2554 กนกลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้ง

พ.ศ. 2562 กนกลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต จังหวัดอุตรดิตถ์ เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้ง[1]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

กนก ลิ้มตระกูล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สรุปผลการเลือกตั้งอุตรดิตถ์ 100 % “เพื่อไทย” ชนะทั้ง 2 เขต มาใช้สิทธิ 73 %
  2. ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒ ลำดับที่ ๑๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข เล่มที่ ๑ หน้า ๙ ลำดับที่ ๑๗, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้